วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


ประวัติศาสตร์ การสร้างเมืองประจันตคาม
ปี พ.ศ. 2371
เจ้าเมืองประจันตคาม คนที่1 พระภักดีเดชะ     (ท้าวอุเทน) คนกลาง เจ้าเมืองประจันตคาม       คนที่2พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) คนขวามือ       เจ้าเมืองประจันตคาม คนที่3 พระภักดีเดชะ    (ท้าวคำ) คนซ้ายมือ                                        
(เขียนเรียบเรียงโดย นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง)    
  
อณุญาตเผยแพร่ได้ครับ แชร์ได้เลยครับ   ขอบคุณครับ        
                              คำนำ                                     ข้าพเจ้านายกิตติศักดิ์ เข้าครอง มีความสนใจเรื่องของเก่าและประวัติศาสตร์แต่เด็ก คุณแม่สำเภา เข้าครอง บอกว่าข้าพเจ้าเก็บมีดเก่าและของเก่าใว้แต่ ยังเด็ก แล้วต่อมาข้าพเจ้าได้ยิน คนเฒ่าคนแก่เล่าคุยกันมา บอกว่าเล่าต่อกันมา ตั้งแต่บรรพบุรุษของพวกเรา ในเรื่องการสร้างเมืองประจันตคาม ข้าพเจ้าก็ได้เก็บใว้ในความทรงจำตั้งแต่เด็กมาโดยตลอด แล้วต่อมาอีกหลายปีข้าพเจ้าได้รองสอบถามผู้คนที่อยู่ในเขตประจันตคามและปราจีนบุรี สอบถามเด็กโตกับเด็กว่า รูปปั้นที่ถือดาบนั้นคือใคร เขาตอบอย่างมั่นใจ บอกว่าไม่รู้ ขนาดเขาเป็นลูกหลานคนประจันตคาม โดยแท้ยังไม่รู้ ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าก็ได้ศึกษาหาข้อมูล กับตำราที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แล้วต่อมาข้าพเจ้าก็ได้พาครอบครัวไปที่หอสมุดแห่งชาติ ที่ก.ท.ม แล้วขึ้นไปขออณุญาติค้นหาข้อมูลประวัติศาสตร์การสร้างเมืองประจันตคาม เพื่อเทียบเคียงกับที่ข้าพเจ้ารู้มา แล้วได้อ่านหนังสือประวัติศาสตร์อีสานและประวัติศาสตร์ของเมืองประจันตคาม และหลายท่านที่เขียน แล้วต่อมาข้าพเจ้าก็ได้เข้าพื้นที่อีก และถามคุยกับคนในหลายๆเขต และหลายๆที่ มีเขตประจันตคาม เขตวัดอินไตร ศรีมหาโพธิ์ หินกอง เสาให้ นครนายก ฉะเชิงเทรา พนัสนิคม ไปถึงสระแก้ว ทำไมอยู่อำเภอเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน พูดสำเนียงไม่เหมือนกัน จึงทำให้ข้าพเจ้าค้นคว้าหาที่มาว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่าพอได้ที่แล้ว ข้าพเจ้าก็รู้แล้วว่าจะทำอย่างไร มีทางเดียวที่จะทำให้คนเมืองประจันตคาม ได้รับรู้ว่าอำเภอประจันตคาม ของเรามีเจ้าเมืองตายในที่สนามรบ ถือว่าเป็นวีรบุรุษนักรบผู้กล้าสละชีพเพื่อชาติ เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งชาติ ที่คนประจันตคาม น่าจะต้องรู้ ข้าพเจ้าจึงได้เขียนประวัติศาสตร์ความเป็นมาการสร้างเมืองประจันตคาม ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้รับรู้ และควรสำนึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษ ที่ได้สละชีพ เสียเลือด เสียเนื้อเพี่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ และได้หาที่ดินถินฐานใว้ให้พวกเราได้อยู่มาถึงทุกวันนี้ จึงอยากให้ชาวบ้าน ชาวเมืองประจันตคาม และสายเลือดเจ้าเมืองประจันตคามทั้ง4 ได้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดิน ที่มีชื่อว่าสยาม และ เจ้าของแผ่นดินที่พวกเราได้อยู่อาศัยมาถึงทุกวันนี้ เจ้าของแผ่นดินมีชื่อว่า พระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ และจงรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ กันทุกพระองค์ และ ให้บำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบกันต่อไป 



คนประจันตคามควรอ่าน  
ช่วยเผยแพร่ให้ชาวบ้านชาวเมืองประจันตคาม
 และอีกหลายจังหวัดได้รับรู้ความเป็นมา 
ของ อำเภอประจันตคาม 
เพื่อเป็นบุญแก่คนที่ยังไม่รู้ด้วยครับ 
 และเชิญมาร่วมงานรำลึกที่อนุสาวรีย์  พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)
 ที่ประจันตคาม   จัดงานรำลึกทุกวันที่ 25 เดือนธันวาคม ของทุกปี
 ประวัติศาสตร์ความเป็นมาการสร้างเมืองประจันตคาม 
บรรพบุรุษเขียนบอกเล่าต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
 ที่มีเจ้าเมืองเป็นผู้กล้าหาญเสียชีวิตในสนามรบ          
"เยี่ยงวีรบุรุษไทยในปัจจุบัน"
และความเป็นมาจนถึงปัจจุบัน         


 

     ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนถึงปี พ.ศ.2321ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ และเจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาตามลำน้ำโขงเพื่อปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขงให้รวมอยู่ในเขตขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรี ปี พ.ศ.2322 พระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพไปตีหัวเมืองลาว ทางหลวงพระบางทางตอนเหนือ ทางเวียงจันทน์ ตอนกลาง และจำปาสักในเขตลาวใต้ จนตกเป็นประเทศราชเป็นเมืองขึ้นของสยาม แล้วได้กวาดต้อนชาวลาว ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาใว้แถบศรีวัชรบุรี(เพชรบุรี) มณฑลราชบุรี(ราชบุรี) ศรีชัยยะสิงหปุระ (กาญจนบุรี) พันธุมบุรี(สุพรรณบุรี) เพื่อเป็นกันชนพม่ามีกลุ่มไทดำจากเมืองพวน ลาวแง้ว และคนพวน

ธงพื้นแดงตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ถึงรัชกาลที่1 ใช้กับเรือกำปั่นและเรือทั่วไปในการค้าขาย ได้ใช้มาถึงปีพ.ศ.2325 


ธงพื้นแดงมีรูปวงจักร สีขาวตรงกลาง ใช้ในรัชกาลที่1 ปีพ.ศ.2325-2352



 ครั้งที่2เกิดขึ้นหลายครั้งใน สมัยรัชกาลที่ 1 ปี พ.ศ.2334ก็ได้กวาดต้อนชักชวนกันมาผู้คนจากดินแดนสิบสองจุไท ส่วนมากเป็นไทดำ ไทพวน ลาวโซ่ง และอีกหลายกลุ่มที่อื่นๆ  ลงมาด้วยอีกหลายครั้งมาอยู่แถบศรีวัชรบุรี(เพชรบุรี)มณฑลราชบุรี (ราชบุรี) ศรีชัยยะสิงหปุระ(กาญจนบุรี)พันธุมบุรี(สุพรรณบุรี)และศรีวิชัย(นครปฐม)  ในสมัยนั้นสยามได้ปกครองดินแดนลาวทั้ง 3 ส่วน  ในฐานะประเทศ ราชใว้ 114 ปี 



แล้วต่อมาพระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ได้พยายามทำสงครามเพื่อตั้งตนเป็นอิสระออกจากสยามและขอทวงแผ่นดินคืน


       ปี พ.ศ.2369 พระเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อสยาม ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 พระเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎได้ยึดเมืองเวียงจันทน์ เอาเป็นเมืองขึ้นของตัวเอง แล้วยังจะขยายอำนาจข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งขวามายึดเมืองเล็กเมืองใหญ่อีก โดยไม่เกลงกลัวต่อสยามเลย  พระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา)


เพื่อจะยึดเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา)ให้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ แล้วได้เผาเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา)ไปถึงทุ่งสำริด การรบครั้งนี้ พระเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ถูกชาวบ้านชาวเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา)ได้ร่วมกำลังกันช่วยกันตีกองทัพพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ แตกพ่ายไป


       โดยท่านผู้หญิงโมได้รวบรวมกำลังทั้งหญิงชายเข้าต่อสู้อย่างตะลุมบอลท่านผู้หญิงผู้กล้าหาญได้นามว่าเป็นวีระสตรี ปรากฎในพงศาวดารมาจนทุกวันนี้ ส่วนทหารไพร่พลของ พระเจ้าอนุวงศ์ได้หนีตายเข้าป่าเข้าเขาหนีตายไปคนละทิศละทางส่วนพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เห็นว่าจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินใจหลบหนีไปพึ่งเวียดนาม จนถึงปีพ.ศ. 2371  พระเจ้าอนุวงศ์จึงได้กลับมาเมืองเวียงจันทน์


       มาพร้อมกับขบวนราชฑูตเวียดนาม พามาเพื่อจะมาขอสวามิภักดิ์ ต่อสยามอีกครั้ง  เมื่อพระเจ้าอนุวงศ์กลับมาเมืองเวียงจันทน์ ทางสยามก็ได้ยกโทษให้ เพราะมีนัยทางทหารเพื่อเป็นกันชนของเวียดนามหรือญวน ในสมัยนั้น เมื่อครั้งตั้งพระเจ้าอนุวงศ์ ครองเมืองเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 ครั้งนั้นยังเป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้สนับสนุนพระเจ้าอนุวงศ์ อย่างเต็มที่ แล้วก็จะตั้งพระเจ้าอนุวงศ์ให้ครองเมืองเวียงจันทน์ต่อเหมือนเดิม แล้วต่อมาพระเจ้าอนุวงศ์เห็นว่าสยามได้ใว้วางใจ พอสบโอกาส พระเจ้าอนุวงศ์กบฎอีก

พระเจ้าอนุวงศ์นำทหารของตนฆ่าทหารของสยามที่รักษาเมืองเวียงจันทน์ตายจนเกือบหมด แล้วยึดเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของตัวเอง ขุนนางของสยามในล้านช้างได้รับใบบอก

ท้าวสร้อย เพียเมืองแสน ท่านมีตำแหน่งขุนนางสยาม ในล้านช้าง เพีย คือตำแหน่ง พระยา ในแคว้นล้านนาและขุนนางในล้านช้าง เพีย เทียบเท่า พระยา หนังสืออ้างอิง พจนานุกรมไทย ฉบับสมบูรณ์2524 ท้าวสร้อย เพียเมืองแสน ท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์เวียงจันทน์พระบิดาของท่านชื่อพระยาชัยแสนสุริยวงศ์(ท้าวผุย)​เป็นเจ้าเมืองแสนล้านช้าง(ในปัจจุบันคืออำเภอพนมไพรแดนมฤตในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบันนี้)​ซึ่งในปีพศ.2337-2371-เป็นเมืองขึ้นล้านช้างพระยาชัยแสนสุริยวงศ์ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์ก่อนชื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่4หรือพระเจ้าอินทวงศ์เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ลำดับที่6 พ.ศ.2337-2348สวรรคตวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2348พระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์มีพระธิดาชื่อเจ้าหญิงทองสุกแล้วต่อมาออกเรือนกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1เป็นเจ้าจอมทองสุกมีพระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีต่อมาออกเรือนกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่2ต่อมามีพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราบปรปักษ์เป็นต้นราชกุลมาลากุล พระเจ้าอินทวงศ์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสิริบุญสาร พระเจ้าสิริบุญสารเป็นบุตรพระเจ้าองค์รอง พระเจ้าองค์รองเป็นบุตรพระเจ้าองค์เว้พระเจ้าองค์เว้เป็นบุตรพระเจ้าชมภูและตาของท่านปรกครองล้านนา พระเจ้าสิริบุญสารครองราชปี2294-2322 ล้านช้างเสียเอกราชแก่สยามปี2322พระเจ้านันทเสนเป็นพระราชโอรสพระเจ้าสิริบุญสารครองราชปี2325-2337และพระเจ้าอินทวงศ์เป็นพระราชอนุชาพระเจ้านันทเสนพระเจ้าอนุวงศ์ครองราชปี2348-2371ก็เป็นพระราชอนุชาพระเจ้าอินทวงศ์และพระเจ้านันทเสนพระเจ้านันทเสนเป็นพระบรมอัยการธิราชในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี  ท้าวสร้อย เพียเมืองแสนท่านมีความจงรักภักดีต่อสยาม ท่านให้บุตรของท่านและหลานชายของท่าน ชื่อ ท้าวอุเทน บุตรท้าวสร้อย เพียเมืองแสน กับ ท้าวอินทร์กับท้าวคำ บุตรนางสีดา
นางสีดามีบุตร9คนชาย5คนหญิง4คน1.ท้าวโพ2.นางขวบ3.นางแหว่น4.ท้าวอินทร์5.ท้าวตัง6.ท้าวคำ7.ท้าวหล้า8.นางลุน9.นางบ้วย นางสีดาเป็นพี่สาวท้าวอุเทนและนางสีดาเป็นบุตรคนโตของท้าวสร้อย เพียเมืองแสน ท้าวสร้อย เพียเมืองแสนท่านให้

ท้าวอุเทน ท้าวอินทร์กับท้าวคำ นำใบบอกไปบอกเมืองที่จงรักภักดี เมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์) เมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี (สกลนคร) แล้วเจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์)ให้ท้าวฟองบุตรพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์)และ เจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี(สกลนคร)ให้ท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี (สกลนคร)เข้าร่วมกับท้าวอุเทนกับท้าวอินทร์กับท้าวคำ บุตรและหลานของท้าวสร้อย เพียเมืองแสน นำม้าเร็วนำใบบอกไปบอกทัพเมืองกรุง เมื่อทัพเมืองกรุงได้รับใบบอกก็ได้รีบกลับมารวบรวมไพร่พลเพื่อนำทัพเข้าร่วมรบกับทัพเมืองกรุง

ธงพื้นแดงมีรูปวงจักรและช้างเผือกอยู่ตรงกลางใช้ในรัชกาลที่3 ปีพ.ศ.2352-2394

                                             



 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3     ได้โปรดให้แต่งทัพ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)   เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดี

เป็นแม่ทัพยกทัพกรุงไปตีเมืองเวียงจันทน์ เพื่อปราบกบฎให้ราบคาบ แล้วเมืองที่จงรักภักดีต่อสยามก็ได้เตรียมกำลังไพร่พลเข้าร่วมรบกับทัพเมืองกรุงเป็นทัพหน้ามี

ท้าวอุเทน บุตรท้าวสร้อย เพียเมืองแสน ท้าวอินทร์กับท้าวคำ เป็นบุตรนางสีดานางสีดาเป็นพี่สาว ท้าวอุเทน   2 คนเป็นบุตรท้าวสร้อยเพียเมืองแสน ท้าวฟอง บุตรพระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์) ท้าวอินทร์ บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี (สกลนคร) บุตรและหลานของเจ้าเมืองทั้ง 3 ที่มีใจจงรักภักดีต่อสยามได้นำกำลังไพร่พลเข้าร่วมรบเป็นทัพหน้ากับทัพเมืองกรุงตีเมืองเวียงจันทน์ จนแตกพ่าย
พระเจ้าอนุวงศ์เห็นว่าจะสู้ไม่ได้จึงได้หลบหนีไปยังเมืองญวนเวียดนาม และในคราวนี้ พระเจ้าอนุวงศ์ ถูกเจ้าเมืองพวนจับกุมตัวและส่งตัวให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดีนำลงมาเมืองกรุง สยาม


       พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3  ทรงพิโรธ พระเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขัง  พระเจ้าอนุวงศ์และประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2371ที่เมืองกรุง กรุงเทพ พระเจ้าอนุวงศ์ (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ที่5) ราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ ครองราชย์ ปี พ.ศ.2348-2371 สวรรคต ปี พ.ศ.2371 (61พรรษา) ส่วนเมืองเวียงจันทน์ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้า ให้"รื้อ"เมืองเวียงจันทน์ลงแต่ให้เว้น"วัดและอาราม" ให้คงใว้ ให้รื้อเฉพาะกำแพงเมืองลง พระราชวัง ศาลาลูกขุนใหญ่ วังเจ้านาย และสิ่งปลูกสร้างในเขตกำแพงล้อม
หลายๆคนตีความว่า"รื้อ"นั้นรวมถึงเผาแต่จากภาพวาดของนักสำรวจชาวตะวันตกและคำบรรยายของ อองรีมูโอร์ยืนยันว่าสถานที่สำคัญอย่างวัดสีสะเกด

                                     
                         



             

หอพระแก้ว วัดพระเจ้าองตื้อไม่ได้ถูกเผาโครงสร้างอาคารยังเหลืออยู่มาก เสียหายแต่ส่วนหลังคา ซึ่งเป็นไม้ผุพังลงเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีจดหมายเหตุการปราบกบฎเวียงจันทน์ เป็นเอกสารอีกชิ้นที่ใช้อ้างอิง  แล้วต่อมาเจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ตั้งศูนย์กลางการปกครองฝั่งขวาแม่น้ำโขงเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเมืองเวียงจันทน์ เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้แบ่งครัวเวียงจันทน์ และหัวเมืองบริวารบางส่วนมาใว้ค่ายริมหนองน้ำและยกค่ายนั้นขึ้นเป็นเมืองหนองค่ายก่อน แล้วต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นหนองคาย มีฐานะเป็นประเทศราชคุมเมืองล้านช้างที่เคยเป็นของเวียงจันทน์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ.2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บุตรของเจ้าเมืองทั้ง 3ที่ได้เข้าร่วมรบเป็นทับหน้ากับทัพเมืองกรุงตีเมืองเวียงจันทน์จนแตกพ่ายมาเป็นเจ้าเมืองภาคตะวันออก เพราะในสมัยนั้นญวนจะมาตีเอาเมืองพนมเปญ เขมร เป็นเมืองขึ้นของญวนในสมัยนั้นเขมรเป็นเมืองขึ้นของสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ชักชวนต้อนชาวลาวมาให้ได้มากที่สุดเพราะเมืองเวียงจันทน์ ได้ล่มสลายลงแล้ว 
ท้าวอุเทน บุตรท้าวสร้อย เพียเมืองแสน กับ ท้าวอินทร์ กับ ท้าวคำ กับ ท้าวฟอง บุตรพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์) ท้าว อินทร์ บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลนทวาปี(สกลนคร) บุตรทั้ง3 ได้รวบรวมกำลังไพร่พล เข้าร่วมออกประกาศชักชวนชาวบ้านชาวเมืองของชาวลาวทั้งหมดให้อพยพข้ามฝั่งแม่น้ำโขง
 ไปอยู่ภาคกลาง ภาคตะวันออก ของสยาม เพราะได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสภาพแวดล้อมเอื้อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และจะจัดหาพื้นที่ถิ่นฐานให้อยู่ใหม่  และพื้นที่ดินทำมาหากินก็ดีกว่าที่อยู่ในเมืองลาว พอชาวบ้านชาวเมืองเกือบทุกเมืองได้ข่าว ก็ได้อพยพกันมาทั้งครอบครัวทั้งหมู่บ้าน บางเมืองอพยพกันมาทั้งเมืองและมีเมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองเวียงจันทน์ และอีกหลายเมือง ยังมีเมืองที่แข็งเมืองก็ได้ชักชวนและต้อนมา มาตั้งถิ่นฐานกันใหม่ ท้าวอุเทน กับท้าวอินทร์ ท้าวคำได้ให้ไพร่พลออกประกาศชักชวนชาวลาวอพยพ
ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งขวาของสยาม และได้ชักชวนประกาศให้ชาวบ้านชาวเมืองในแถบภาคอีสานอพยพตามมาด้วยจนมาถึงเขตเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา) ท้าวอุเทน ให้ทหารไพร่พลนำกำลังกวาดต้อน ทหารไพร่พลของพระเจ้าอนุวงศ์ ที่ถูกชาวบ้านชาวเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา) ตีแตกพ่ายหลบหนีเข้าป่าเข้าเขา ให้กวาดต้อนมาเป็นไพร่พลให้หมด ในปี พ.ศ. 2371 เป็นประวัติกาลและถือเป็นการเทครัวลาวครั้งยิ่งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เหลือคนลาวที่อยู่ในอาณาจักร เวียงจันทน์น้อยมาก จึงทำให้คนเวียงจันทน์ ทุกวันนี้ 90% เป็นคนญวน  และคนที่อื่นมาอยู่ทั้งนั้นและส่งผลให้ประเทศลาวในปัจจุบันนี้มีประชากรเพียง 7 ล้านคน แล้วต่อมาได้มาถึง
แถบเขาใหญ่ดงพญาเย็นได้จัดแบ่งกลุ่มลาวให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเพราะสำเนียงภาษาพูดไม่เหมือนกัน จะได้จัดหาพื้นที่ทำมาหากิน และที่อยูอาศัยให้อยู่เป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มจึงได้ให้ชาวบ้านชาวเมืองที่อพยพมาด้วย และอพยพลี้พลมาและต้อนมา จัดกลุ่มที่ 1 ที่ต้อนมาไปอยู่แถบกันชนเขมรภาคตะวันออกและให้สมัครใจไปอยู่แถบนั้นก็มี กลุ่มที่ 2 ให้สมัครใจเลือกพื้นที่ตั้งถิ่นฐานกันเอาเอง  กลุ่มที่ 3 จัดให้ไปตั้งหมู่บ้านที่ไม่มีคนอยู่เพราะในสมัยนั้นแผ่นดินสยามในภาคตะวันออกและภาคกลางมีคนน้อยแต่แผ่นดินมีมากจึงต้องนำคนที่อพยพมาชักชวนมา และต้อนมาให้เข้าไปอยู่ให้ได้มากที่สุดที่เป็นที่ว่างที่ไม่มีคนในสมัยนั้นมีแต่ป่าไม้รกทึบของภาคกลางและภาคตะวันออก คนที่ต้อนมามี จำนวนมาก ท้าวอุเทน ได้ให้ทหารแบ่งสองส่วนย่อยและ อีกส่วนหนึ่งให้ทหารนำคนที่อพยพมาด้วยกับอพยพหลี้พลและต้อนมาให้ไปหาพื้นที่ตั้งถิ่นฐานกันในภาคกลางเมืองละโว้(ลพบุรี)เมืองวิเศษชัยชาญ(อ่างทอง)สิงหราชาธิราช(สิงห์บุรี) พระบางชอนตะวัน(นครสวรรค์) เข้าไปอยู่รวมกันกับที่ถูกต้อนมาในครั้งก่อน ให้อยู่ในสำเนียงภาษาเดียวกัน  และยังมีไปถึงภาคตะวันตกก็มีเพื่อให้ไปอยู่ในกลุ่มเดียวกันมี ศรีวัชรบุรี(เพชรบุรี)มณฑลราชบุรี (ราชบุรี)พันธุมบุรี(สุพรรณบุรี)ศรีวิชัย(นครปฐม)ก็มี  และทหารอีกส่วนหนึ่ง ได้แบ่งคนที่อพยพหลี้พลกับอพยพมาและชักชวนต้อนมาให้นำคนที่อพยพมา ไปทางทิศตะวันออกมุ่งหน้าไปหาตั้งถิ่นฐานหาพื้นที่ตั้งหมู่บ้านทางแถบกันชนเขมร ป่าดง เมืองศรีษะเกษ เมืองขุขันธ์ ผ่านช่องตะโกไปถึงบ้านหินแร่(อรัญ) แล้วต่อมา ท้าวอุเทน ท้าวอินทร์กับท้าวคำ บุตรและหลานของท้าวสร้อย เพียเมืองแสน  ท้าวฟองบุตรพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธ์ุ) ท้าวอินทร์ บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี(สกลนคร) ได้นำกำลังไพร่พลต้อนชาวบ้านชาวเมืองที่อพยพมา กับอพยพลี้พลมาและชักชวนต้อนเทครัวมาทั้งหมดให้เดินอ้อมเขาใหญ่ดงพญาเย็น



ท้าวอุเทนได้แบ่งคนที่ชักชวนต้อนมาและอพยพหลี้พลมาในส่วนหนึ่งให้เลือกตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของกลุ่มของพวกพ้องของตัวเองที่มีสำเนียงภาษาเดียวกันในพื้นที่ที่เดินทัพผ่านมามีสระบุรี หินกอง แก่งคอย หนองแค หนองแซง เสาไห้กลุ่มลาวยวน วิหารแดง ลาวยวน บ้านหมอ นายก(นครนายก) ท้าวอุเทน เมื่อเดินทัพเข้าเขตนายก(นครนายก) ก็มืดลง ท้าวอุเทน ท้าวอินทร์กับท้าวคำ บุตรและหลานของท้าวสร้อย เพียเมืองแสน ท้าวฟองบุตรพยาชัยสุนทร เจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธ์ุ) ท้าวอินทร์ บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี(สกลนคร) ได้ต้อนนำคนที่อพยพมากับอพยพลี้พล ที่ยังเหลือจากส่วนที่แบ่งให้ไปตั้งถิ่นฐานสร้างหมู่บ้านสรัางเรือนให้อยู่กันเป็น กลุ่มเป็นก้อน ยังเหลือคนอีกจำนวนมากมายในเวลาต่อมาก็มืดลง



ท้าวอุเทนได้ตั้งอธิฐานในใจว่าถ้าเดินทัพพาคนที่ชักชวนต้อนมากับอพยพมาและอพยพลี้พลมาคืนนี้จะไม่พักจะเดินไปข้างหน้าถ้าแจ้งตรงใหนถึงจะหยุดพักและจะขอตั้งเมืองตรงนั้น แล้วท้าวอุเทนก็ได้นำกำลังไพร่พล กับหลานท้าวอินทร์ท้าวคำ ท้าวฟองบุตรพยาชัยสุนทรเจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์)ท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี(สกลนคร)ก็ได้นำกำลังไพร่พลช่วยกันต้อนกันมาจนมาแจ้งสว่างที่บ้านดงยางในเขตบ้านด่านกบแจะ จึงได้พักแล้วให้คนที่ถูกชักชวนและต้อนมา


มากองรวมกันใว้ในเขตบ้านด่านกบแจะ จนเต็มไปหมดต่อมาท้าวฟอง บุตรพระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองบ้านแก่งสำเริง(กาฬสินธุ์)ได้นำกำลังไพร่พลของตัวเอง แล้วได้แบ่งคนที่ชักชวนต้อนมากับอพยพมาและอพยพลี้พลมาแยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเมืองอยู่ที่กบินทร์บุรีและได้จัดหาพื้นที่ให้คนที่ชักชวนและต้อนมาและอพยพมาใว้ในเขตกบินทร์บุรี มีลาวเวียง ลาวไทยพวน ส่วนท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองหนองหานหลวงสกลทวาปี(สกลนคร)ได้นำกำลังไพร่พล แบ่งคนที่ชักชวนและต้อนมากับอพยพลี้พลมา และอพยพมา แยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่บางปลาสร้อย(พนัสนิคม) แล้วจัดหาพื่นที่ให้คนที่ชักชวนต้อนมากับอพยพลี้พลมาและอพยพมา อยู่ในเขตสนามชัยเขต เกาะขนุน พนมสารคาม แปดริ้ว(ฉะเชิงเทรา)บางปลาสร้อย (พนัสนิคม)พระรถศรีพโล พญาแร่( ชลบุรี) มีลาวเวียง ลาวไทยพวน  ท้าวอุเทนก็ได้เลือกพื้นที่ตั้งเมืองที่บ้านดงยาง เขตบ้าน"ด่านกบแจะ"แล้วให้ทหารไพร่พล กับคนที่ถูกชักชวนต้อนมากับคนที่อพยพมา และอพยพหลี้พลมา ให้หาพื้นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในเขต เมืองประจันตคาม มีลาวเวียง ลาวหลวงพระบาง ไทยโคราช เขต ศรีมหาโพธิ์ลาวพวน พระรถศรีมโหสถอวัธยปุระ (ปราจีนบุรี) โพธิ์งาม บ้านสร้าง บ้านโง้ง ประจันตคาม ดงบัง เกาะลอย บ้านหอย ต.คำโตนด บุฝ้าย หนองแก้ว ไปถึงต.นนทรี กบินบุรี สระแก้วอรัญ ส่วนมากเป็นลาวเวียงจันทน์ ต.หนองแสง ลาวหลวงพระบางและ ในเขตพระรถศรีมโหสถอวัธยปุระ (จังวัดปราจีนบุรี)มีลาวเวียง ไทยพวน ลาวหลวงพระบาง และไทยโคราช และในเขตเมืองประจันตคามก็มีไทยโคราชที่ถูกต้อนหลงมาด้วยสาเหตุที่ท้าวอุเทนได้ให้ทหารไพร่พลต้อนเอาทหารไพร่พลของพระเจ้าอนุวงศ์ ที่ถูกชาวบ้านชาวเมืองโคราชตีแตกพ่ายแล้วหนีเข้าป่าเข้าเขาในครั้งนั้นจึงทำให้ไทยโคราชถูกต้อนติดมาด้วย ได้ให้ไปตั้งหมู่บ้านในเขตเมืองประจันตคามทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองประจันตคาม แล้วท้าวอุเทนให้ทหารไพร่พลของท่านให้คัดแยกแบ่งชาวบ้านชาวเมืองที่อพยพมาทั้งหมดแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มเครือญาติของ ท้าวอุเทน อยู่บ้านดงยาง แล้วได้สร้างเมืองประจันตคามขึ้นกับสร้างวัดแจ้งขึ้น



พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ในสมัยสร้างเมืองประจันตคาม ปีพ.ศ.2371




ภาพวัดแจ้ง(เมืองเก่า)​ในปัจจุบันปีพ.ศ.2566


 พระครูมงคลธรรมโสภณ(หลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงปู่โทน)​ วัดแจ้ง(เมืองเก่า) ​ประจันตคาม
ภาพปัจจุบันปีพ.ศ.2566

ท้าวอุเทนได้ให้เครือญาติของท่านอยู่ในเขตรอบเมืองประจันตคามทั้งหมดและแบ่งให้กลุ่มเครือญาติของนางสีดาพี่สาวท้าวอุเทน อยู่ทางทิศเหนือของเมืองประจันตคาม พร้อมให้บุตรของนางสีดาท้าวอินทร์กับท้าวคำ ควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคาม
ท้าวอินทร์กับท้าวคำได้หาพื้นที่ตั้งหมู่บ้านพร้อมตั้งหมู่บ้านนักรบที่บ้านอรัญ แล้วได้สร้างหมู่บ้านอรัญขึ้นพร้อมกับเครือญาติแล้วได้สร้างวัดอรัญญาราม





ภาพหลวงพ่อหลักเมืองแกะด้วยไม้มงคล องค์ใหญ่แกะด้วยช่างหลวงเมืองเวียงจันทน์ปีพ.ศ.2371


ภาพวัดอรัญญารามเก่าสร้างปี พ.ศ.2371
ปัจจุบันวัดอรัญญาราม(วัดหนองคีม)​หมู่6 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

ในปีพ.ศ2371ได้นำไม้มงคลเอามาแกะเป็นพระพุทธรูปหลวงพ่อหลักเมือง บางองค์แกะรายลงรักปิดทองโดยช่างหลวงเมืองเวียงจันทน์ที่อพยพมาตั้งเมืองตั้งหมู่บ้านที่นี่ พระพุทธรูปที่เป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์ได้นำมาจากเมืองเก่าเวียงจันทน์ที่อพยพมา พระพุทธรูปแกะด้วยไม้มงคลบางองค์แกะรายลงรักปิดทอง บางองค์ไม่แกะรายปิดทอง ได้สร้างใว้จำนวนมาก เพื่อให้ลูกหลานใว้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ถึงห้าพันปี แล้วต่อมาลูกหลานเครือญาติบ้านอรัญได้ย้ายบ้านไปตั้งหมูบ้านใหม่สร้างวัดใหม่หลายที่หลายหมู่บ้านแล้วได้นำพระพุทธรูปที่แกะด้วยไม้มงคลไปในส่วนหนึ่ง บางวัดได้พระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ก็มี บางวัดได้พระพุทธรูปไม้ไป มีหลายวัดที่จำได้ มีวัดบุตรโคตร วัดกำแพง วัดหนองข่า ส่วนวัดทุ่งสบกได้พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ และมีอีกหลายวัด

วัดทุ่งสบกในปัจจุบัน




พระอธิการวิเชียร คณะครูเขมคุณากร                   เจ้าอาวาสวัดสอนนิมิตร (วัดทุ่งสบก)​                   ผู้ใหญ่ พัสณวัศ บุญธรรมและเครือญาติ หมู่ 10   ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี                      ภาพในปัจจุบัน พ.ศ.2566



  ภาพวัดบุตรโคตรในปัจจุบัน ปีพ.ศ.2566  





พระครูพิพัฒน์ปัญญาภรณ์ เจ้าคณะตำบลคำโตนด เขต๑ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส (วัดบุตรโคตร)​   ต.คำโตนด.อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ภาพปัจจุบันปีพ.ศ.2566



ภาพวัดหนองข่า หมู่12 ต.นนทรี อ.กบินบุรี จ.ปราจีนบุรี ในปัจจุบัน ปีพ.ศ.2566         

ประวัติวัดหนองข่าตำบลนนทรี คนบ้านหนองข่ากับคนตำบลนนทรีเดิมได้ย้ายถิ่นฐานครัวเรือนมาจากบ้านกำแพง ร้อยกว่าปีมาแล้ว ปัจจุปันนี้บ้านกำแพง เป็นหมู่12 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี นำโดยครอบครัว พ่อตาลี แม่ยายบุญตา ได้มาหาที่ทำกินขึ้นมาใหม่ได้มาเจอหนองน้ำใสสะอาด มีต้นข่าขึ้นรอบๆและมีต้นไม้ใหญ่เต็มไปหมด เหมาะที่จะจับจองพื้นที่ในเขตนี้ทำมาหากินได้ และจึงได้ชักชวนเครือญาติพี่นน้องมาตั้งหมู่บ้านที่นี้แล้วตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ แล้วได้ตั้งหมู่บ้านทางทิศตะวันตกของหนองน้ำ ปัจจุบันคือบ้านหนองข่าเก่า แล้วต่อมาก็ได้สร้างวัดขึ้นมา สร้างกุฏิขึ้นหนึ่งหลัง เรียกว่าวัดหนองข่า แล้วต่อมาในสมัยรัชกาลที่5 ได้เริ่มให้ทุกหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านของประเทศ หมู่บ้านหนองข่าได้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อนายธรรมมา แล้วต่อมาในสมัยรัชกาลที่6 ได้โปรดให้มีนามสกุล ผู้ใหญ่บ้านหนองข่านายธรรมมาได้ใช้นามสกุลกัญมณี และเครือญาติและในเขตบ้านทุ่งสบกที่มีเขตพื้นที่ติดกันใกล้กันก็ใช้นามสกุลพรมมณี และพื้นที่เขตใกล้กันใช้นามสกุล มี ชัยจำ ไชยจำ บุญธรรม ก้องกังวาลย์ สิทธิมงคล หนักแน่น และอีหลายนามสกุลในสมัยนั้น แล้วต่อมาวัดหนองข่าได้สร้างวัดแล้ว ยังไม่มีพระพุทธรูปบูชาจึงได้กลับไปเอาพระพุทธรูปบูชาที่แกะด้วยไม้มงคลที่บ้านเกิดที่ได้สร้างใว้ให้ลูกหลานและเครือญาติที่ได้ย้ายไปสร้างหมู่บ้านใหม่สร้างวัดใหม่ สันนิษฐานว่าที่วัดอรัญญารามหรือวัดกำแพง เพราะคนในสมันนั้นเป็นเครือญาติคนบ้านวัดอรัญญาราม(หนองคีม)​

 วัดอรัญญาราม เป็นเสาหลักของการตั้งเมืองกับตั้งถิ่นฐานสร้างหมู่บ้านเรือนแล้วให้ตั้งหมู่บ้านลาวสีสะกาว หรือบ้านโนนลาวกาว เป็นหมู่บ้านใหญ่มากในยุคนั้นอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดอรัญญาราม กับหมู่บ้าน แล้วให้ตั้งทัพม้ากับสนามรบทัพจับศึกใว้ทางทิศเหนือของวัดอรัญ (ทุ่งใหญ่)​ แล้วต่อมาได้สร้างเป็นโรงเรียน ม.แล้วในปัจุบันเป็นสนามฟุตบอล แล้วได้สร้างหมู่บ้านใหญ่ใว้อยู่รอบวัดอรัญญาราม แล้วขุดบ่อหนองน้ำใว้กินใว้ไช้

บ่อน้ำขุดในวัดอรัญเก่า
ด้านทิศตะวันออกของวัดอรัญ
หนองน้ำของกลุ่มตาคิมขุดใว้กินใว้ใช้


ภาพจำลองหมู่บ้านเก่าอรัญ

ต่อมา  ท้าวอุเทน ให้ชาวบ้านชาวเมืองช่วยกันไปเกี่ยวหญ้าคา  หญ้าแฝก ใบจิกใบยางและตัดต้นไม้ถางป่าปับหน้าดินขุดดินทำนาทำสวนสร้างบ้านสร้างเมือง
ให้เสร็จเร่งด่วน ให้เสร็จให้พร้อมกันทั้งเมือง ชาวบ้านชาวเมืองก็ช่วยกันขุดบ่อน้ำกินไปตัดไม้ถางป่าเกี่ยวหญ้าคา หญ้าแฝกมามุงเมือง แล้วต่อมาชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามได้สร้างบ้านสร้างเมืองกันขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท้าวอุเทน เจ้าเมืองประจันตคาม ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น (หลวงภักดีเดชะ)ให้ว่าราชการเมืองประจันตคาม ท้าวฟองบุตรพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกบินทร์บุรีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงกำแหงมหึมา ท้าวอินทร์ เจ้าเมืองพนัสนิคมเป็นหลวงอินทรา (หลวงภักดีเดชะ)   ท้าวอุเทน มีบุตร 5 คน บุตรชาย 3 คนบุตรหญิง 2 คน

  1. ท้าวโท 
  2. ท้าวบุศย์ 
  3. ท้าวผา 
  4. นางผิว 
  5. นางผาย 

ในช่วงเวลาหลวงภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ว่าราชการเมืองประจันตคามอยู่บุตรทั้ง5คนยังเป็นเด็กอยู่ แล้วต่อมา นางผิวได้โตเต็มไวได้ออกครัวกับท้าวเสนยกบัตร นางผาย ตายแต่ยังน้อย ได้มีคนกล่าวขานกันมาว่า พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ท่านคือคนดีศรีเมืองประจันตคาม ท่านได้จัดหาพื้นที่ทำมาหากินให้ทุกกลุ่มที่อพยพมากับท่านทุกกลุ่ม เปรียบเสมือนครอบครัวเครือญาติของท่าน ถึงทำให้คนลาวเมืองประจันตคาม คนลาวภาคตะวันออกกับคนลาวภาคกลางที่อพยพมากับท่าน มีหลายกลุ่มมีหลายสำเนียงภาษาพูดไม่เหมือนกัน มีลาวเวียง กลุ่มชาวญ้อ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดภาษาลาวสำเนียงทางหลวงพระบาง กลุ่มคนพวนที่มาจากแถบเมืองเชียงขวาง ลาวแง้วมาจากแถบหลวงพระบาง คนญวนจากเชียงแสน ลาวพวน ลาวโซ่ง ลาวซ่วย กลุ่มไทดำ จากเมืองพวนแถบเชียงขวาง ก็มี ในปัจจุบันนี้ได้อยู่กันเป็นปึกแผ่นในแผ่นดินของสยาม ของประเทศไทย

     
 หลวงภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ว่าราชการได้ 2 ปี เกิดศึกญวนมาตีเมืองพนมเปญ เขมร ในสมัยนั้นเมืองพนมเปญ เขมร เป็นเมืองขึ้นของสยาม พระบาทสมเด็จพระนั้งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)เป็นแม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองพนมเปญ เขมร  และให้เจ้าเมืองตะวันออกเป็นทัพหน้าไปช่วยเมืองพนมเปญ เขมร หลวงภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังไพร่พลและได้เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองประจันตคาม เป็นทัพหน้าเข้าร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์ และเจ้าเมืองพนัสนิคมกับไพร่พลร่วมกันเป็นกองทัพหน้าส่วนหนึ่ง ยกกำลังไปสู้รบไล่ข้าศึกญวนให้ถอยออกไปจากเมืองพนมเปญ เขมร
ทำการรบอยู่ประมาณ 3 ปี ถึงขับไล่ข้าศึกญวนถอยไปแล้วได้ยกทัพกลับมา เจ้าเมืองทั้ง 3 พร้อมผู้ร่วมรบ มีความชอบในราชการทัพ เมื่อกลับมาถึงเมืองอีกไม่นานก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "ที่พระ"ในนามเดิมทั้ง 3 เจ้าเมือง หลวงภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)เจ้าเมืองประจันตคาม จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น



              พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ผู้ร่วมรบขับไล่ข้าศึกญวนเขมร ท้าวอินทร์ บุตรนางสีดา ได้รับตำแหน่งเป็น หลวงศักดิ์ดาสำแดงยกกระบัตร รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคาม ท้าวคำ น้องท้าวอินทร์ได้รับตำแหน่งเป็นขุนอรัญไพรศรี รั้งตำแหน่งปลัดเมืองควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคาม อยู่มาได้อีก 1 ปี ข้าศึกญวนได้กลับมาตีเมืองพนมเปญ เขมร เจ้าเมืองตะวันออกได้รับใบบอก โปรดให้เกณฑ์คนไปช่วยรบไล่ข้าศึกญวน พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ได้รับใบบอกได้นำกำลังไพร่พลเกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามเข้าร่วมรบขับไล่ข้าศึกญวนกับเจ้าเมืองกบินทร์เหมือนเช่นก่อน ส่วนเจ้าเมืองพนัสนิคมในฐานะเป็นหัวเมืองใกล้ทะเล มีในว่าถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำกองทัพเรือในกรุง ในการไปราชการทัพขับไล่ข้าศึกญวน เขมร ในครั้งนี้



           พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองประจันตคาม คนที่1 เสียทีให้แก่ข้าศึกญวนตายในสนามรบ "เยี่ยงวีรบุรุษไทย" ในปัจจุบัน จึงนับว่า พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)เจ้าเมืองประจันตคาม คนที่ 1 ได้สละชีพเพื่อชาติเพื่อปกป้องประเทศชาติให้พ้นจาก   อริราชศัตรู สมควรยกย่องว่าท่านเป็น"วีรบุรุษเมืองประจันตคาม"แล้วท่านเปรียบเสมือน"บรรพบุรุษ ของคนประจันตคามกับคนที่ท่านได้พาอพยพมา ที่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกในปัจจุบันนี้"  "เลือดกูไหลรินทาแผ่นดินเขมรเพื่อประกาศศักดาให้พวกมึงรู้ว่ากูคือนักรบแห่งเมืองประจันตคาม" พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองประจันตคาม คนที่ 1 ท่านเป็นผู้นำที่กล้าหาญ ท่านได้นำกำลังไพร่พลเป็นทัพหน้าเข้าร่วมรบกับทัพเมืองกรุงตีเมืองเวียงจันทน์จนกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป และได้ประกาศชักชวนชาวบ้านชาวเมืองลาวแล้วได้เทครัวลาวอพยพมามาก ในประวัติการและเป็นการเทครัวลาวครั้งยิ่งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ในการเทครัวลาว และได้กวาดต้อนชาวลาวข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาอยู่แถบภาคกลางภาคตะวันออกอยู่ถึงปัจจุบันนี้  และได้นำกำลังไพร่พลชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามเป็นทัพหน้าร่วมในการรบขับไล่ข้าศึกญวน ในเขมร ได้ถอยไป  พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)เจ้าเมืองประจันตคาม ท่านเป็นเจ้าเมืองคนแรก รับราชการอยู่ได้6ปี ตั้งแต่เทครัวลาวในปี พ.ศ.2371ก็มาสิ้นชีพในสนามรบทีเขมร ในปี พ.ศ.2376 แล้วได้นำศพของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)มาฝังเก็บใว้ที่วัดแจ้งเมืองเก่าอยู่ถึงในปัจจุบันนี้






จากคำบอกเล่า จากพระครูมงคลธรรมโสภณ      (หลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงปู่โทน)​
วัดแจ้งเมืองเก่าว่าหลุมบรรจุศพ พระภักดีเดชะ    (ท้าวอุเทน)​ใช้ไม้มงคล คือแก่นไม้หอม12ท่อน ยาว5ศอก วางนอนพื้น4ท่อน วางเรียง4ทิศ4ท่อน   วางปิด4ท่อน ใช้ตอหวายทอง11ศอก ภายในลงใบชา ใบข่อยลงภายในหลุมบรรจุศพ วางหัวไปทิศเหนือ

ในปัจจุบันนี้บ้านเรือนของบุตรหลานเหลนโลนหล่อนและเครือญาติของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ส่วนมากจะตั้งบ้านเรือนอยู่ข้างวัดแจ้งเมืองเก่าข้างทางรถไฟประจันตคาม บ้านทัพช้าง  เขตตลาดอำเภอประจันตคาม และ บ้านหนองมะแซวหมู่ 7 กลุ่มครัวเรือนของนายก สุชาติ เดชสุภาและเขตในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้วกรุงเทพฯ และ จังหวัดอื่น ในปัจจุบันนี้  พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ท่านเป็นต้นตระกูลเดชสุภา       

ตัวอย่างผังเครือญาติสมัยก่อนถึงปัจจุบันนี้

นับเป็นพระคุณอย่างยิ่งที่พระมหาเมฆ อำไพรจริต เปรียญธรรม 7 ประโยคแห่งวัดกรรมมาตุยาราม กรุงเทพฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ มาตุทิศ แจกในงานฌาปนกิจศพ นางคำ อำไพจริต (โยมมารดา) โดยมีคุณโยมแสงมณี เป็นเจ้าภาพพิมพ์ถวาย เมื่อวันที่29กุมภาพันธ์2466 นับเป็นเวลาถึงปัจจุบันนี้ 95 ปี ผ่านมาและมีบทที่กล่าวถึงวงศกุลและประวัติของนางคำ อำไพรจริต ว่ามีบรรพบุรุษเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์โดยตรงกับ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ดังนี้คือ 1 ปู่ทวด คือ พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) 2 ปู่ คือ ขุนราษฏร์บริบาล(ท้าวบุศย์) 3 บิดา คือ ขุนประเสริฐ(ท้าวสิงห์) 4 ยายทวด คือ นางสีดาพีสาวพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) 5 ตา คือ พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ) 6 มารดา คือ นางจันทร์ โดยมีหลวงสุรฤธา (ท้าวพรหมา) ปลัดเมืองประจันตคาม ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองท่าน สุดท้ายเป็นผู้เล่า หากขาดหนังสือเล่มนี้ คงไม่มีหลักฐานที่บันทึกไว้โดยตรงเหลือไว้อ้างอิง หนังสือเล่มนี้เขียนบันทึกไว้เป็นของพระสุธน วัดแจ้ง หากชาวบ้านเก็บรักษาไว้คงเหลือถึงขณะนี้              
          ต่อมาในขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์) เป็นแม่ทัพได้เห็นว่าบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ยังเยาว์นักไม่สามารถจะว่าราชการได้จึงแต่งตั้ง

ท้าวอินทร์ บุตรนางสีดา ในขณะนั้นเป็นหลวงศักดิ์ดาสำแดงยกกระบัตรรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคาม
ท้าวคำ น้องท้าวอินทร์ ขณะนั้นเป็นขุนอรัญไพรศรีรั้งตำแหน่งปลัดเมืองควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคาม เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์)ได้ให้ท้าวอินทร์ ทำการรบต่อไป ท้าวอินทร์กับท้าวคำได้รวบรวมกำลังไพร่พลประกาศบอกชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามให้ทุกคนที่จะไปรบขับไล่ข้าศึกญวน เขมร ในครั้งนี้ให้เตรียมเสบียงกันใว้ รบครั้งนี้เป็นการรบที่นานที่สุดต้องเตรียมเสบียงให้ได้มากที่สุดและรบในครั้งนี้แพ้ไม่ได้มันเป็นการรบเพื่อประเทศ และแก้แค้นให้พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) แล้วนำกำลังไพร่พล

ชาวบ้านอรัญยกครอบครัวเกือบทั้งหมดพร้อมชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามยกกำลังไปรบขับไล่ข้าศึกญวน ในเขมร รบอยู่ประมาณ6ปี

ถึงมีชัยชนะเมื่อมีชัยชนะได้ประกาศต่อแผ่นดินเขมรว่าพวกกูจะเอาคนเมืองประจันตคามเข้าครองแผ่นดินเขมรให้กับประเทศสยามให้พวกญวนกับพวกเขมรได้จดจำว่ากูคือนักรบเมืองประจันตคาม ตั้งแต่นั้นมาพวกญวนไม่มายึดเมืองเขมรเลย

ท้าวอินทร์ กับ ท้าวคำ
แล้วได้แก้แค้นให้พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)จนสำเหร็จส่วนทัพญวนได้เสียชีวิตกันมากส่วนไพร่พลของท้าวอินทร์ก็มีเสียชีวิตเหมือนกันบางคนกลับมา  มาเสียชีวิตกลางทางก่อนถึงเมืองก็มี ส่วนท้าวแสนชัยเสียชีวิตที่โนนใก่เซ่า  บางครอบครัวมีลูกเกิดในค่ายที่ไปรบก็มี เช่น บุตรของท้าวอินทร์ที่ชื่อท้าวเม๋น เกิดในเขมรถึงได้ใช้ชื่อท้าวเม๋น เกิดปีพ.ศ. 2381 แล้วต่อมาเมื่อมีชัยชนะต่อข้าศึกญวน ในเขมร ที่เมืองพนมเปญ เมื่อเสร็จศึกญวนแล้วก็ได้ยกทัพกลับมาส่วนหนึ่ง
ท้าวอินทร์ นั่งเสรี่ยงพร้อมกับครอบครัวกลับจากทำศึกที่เขมร
 และอีกส่วนหนึ่งให้แบ่งครัวชาวเมืองประจันตคามให้ตั้งหมู่บ้านในเขตเขมรและบ้านสวาย ตั้งหมู่บ้านอรัญแล้วต่อมายกขึ้นเป็นเมืองศรีโสภณ ในขณะนั้นเมืองพนมเปญ เขมร เป็นประเทศราชของสยาม แล้วอยู่มาภายหลังได้ย้ายหมู่บ้านมาตั้งใหม่ในเขต บ้านหินแร่ แล้วต่อมาบ้านหินแร่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นบ้านอรัญ คนสยามหรือคนเมืองประจันตคามที่อพยพมาที่มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขต ตำบล คลองน้ำใส ตำบลเมืองไผ่ ตำบลท่าข้าม ตำบลผ่านศึก และในเขตเทศบาล (ยกเว้นในตลาดอรัญประเทศ) เมืองอรัญประเทศได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองในรัชกาลที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อปีพ.ศ.2393
แล้วต่อมาท้าวอินทร์ได้นำกำลังที่ไปรบชนะข้าศึกญวนที่พนมเปญ เขมร กลับมาถึงเมืองประจันตคาม หลวงศักดิ์ดาสำแดงยกกระบัตรรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคาม(ท้าวอินทร์)ได้รับความชอบที่ไปรบชนะขับไล่ข้าศึกญวนที่พนมเปญ เขมร ได้โปรดเกล้าได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น

ภาพท้าวอินทร์

พระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) เมื่อปี พ.ศ. 2381 เป็นเจ้าเมืองประจันตคาม คนที่ 2 สืบต่อพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองคนแรก ท้าวคำ ตำแหน่งขุนอรัญไพรศรีรั้งตำแหน่งปลัดเมืองประจันตคามควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคาม ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น

ภาพท้าวคำ

หลวงสุรฤทธาปลัดเมืองประจันตคาม ส่วน ท้าวโท บุตรของ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)เจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 1 ในขณะนั้นมีอายุและความสามารถพอจะรับราชการได้จึงได้รับบำเหน็จตกทอดจากบิดา ให้เป็นขุนอรัญไพรศรี ผู้ช่วยราชการ ท้าวบุศย์เป็นขุนราษฎร์บริบาลตำแหน่งมหาดไทยพร้อมกันในคราวเดียวกัน เว้นท้าวผาซึ้งอายุยังน้อยอยู่ ส่วนผู้ร่วมรบก็ได้รับบำเหน็จเช่นกันหลายคนในระยะต่อมา   ภายหลัง ท้าวโท บุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหลวงศักดิ์ดาสำแดงยกกระบัตร ต่อมา ท้าวสุวรรณ เป็นบุตรของท้าวสุโทท้าวสุโทเป็นบุตรของนางสีดา ท้าวสุวรรณ เป็นหลานของนางสีดาพี่สาวพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) และ ท้าวสุโท เป็นน้องของ พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) กับ ท้าวคำ ท้าวสุวรรณเป็นหลานของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) กับ ท้าวคำ ท้าวสุวรรณได้เป็นหลวงศรีวิเศษผู้ช่วยราชการขวาของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)

พระภักดีเดชะ(ท้าวอิทร์)เจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 2 ว่าราชการเมืองประจันตคามได้44ปีตั้งแต่นั้นมาทัพญวนไม่มาตีเมืองพนมเปญเขมรอีกเลย เขมรที่มีประเทศมาได้ทุกวันนี้ก็ด้วยประเทศสยาม ได้ช่วยขับไล่ญวนไม่ให้เข้ามายึดเป็นเมืองขึ้นของญวน เขมรอย่าลืมพระคุณพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ที่ท่านได้พลีชีพเลือดเนื้อของท่านกับชาวเมืองประจันตคามในสนามรบในเขมร เขมรอย่าลืมพระคุณพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)กับพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)ที่ได้ร่วมกันรบกับชาวเมืองประจันตคามขับไล่ญวนให้หนีถอยไปถึงได้มีประเทศเขมรมาถึงทุกวันนี้​  แล้วต่อมาปี​พ.ศ.2391 วันจันทร์​เดือน​5​ ขึ้น7​ค่ำพวกอั้งยี่เข้ายึดเมืองฉะเชิงเทรา​ จับตัวท่านผู้หญิง(หุ่น)​ภรรยาพระยาศรีราชอากร(ขลิบ)​เป็นตัวประกัน​ ชาวบ้านชาวเมืองแตกตื่นหนีเข้าป่า​ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3​ โปรดให้มีท้องตรา​ไปถึงเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ)​สั่งให้ทิ้งงานชำระสะสางอั้งยี่ที่ราชบุรี​ ไปแก้ปัญหาอั้งยี่ที่ฉะเชิงเทรา​ ขณะเจ้าพระยาพระคลังยกกำลังออกจากพระนครเดินทางไปทางน้ำก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าเมืองพนัสนิคม​ พระอินทร์รักษา​ให้ยกทัพนำกำลังจากเมืองพนัสนิคม​ เดินทางไปทางบกแล้วให้ทหารไพร่พลให้เข้ากระหนาบโอบล้อมอั้งยี่ที่เมืองฉะเชิงเทราอยู่ด้านนอกเอาใว้ ประจวบกับเวลาเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)​ได้เดินทัพกลับมาจากเขมรกับพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)​เจ้าเมืองประจันตคาม​ ได้ทราบข่าว​ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)​ก็ได้สั่งให้พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)​เจ้าเมืองประจันตคามจัดแต่งทัพนำทหารไพร่พลที่ยกทัพกลับจากเขมร​ เข้าโอบล้อมคุมเชิงเอาใว้อีกชั้นอยู่ด้านนอกเหนือเมืองฉะเชิงเทรา​ แต่แรกเมื่อทัพเรือเจ้าพระยาพระคลัง​ ส่งเจ้าหมื่นใวยวรนารถ​ ยกทัพลำลองเข้าไปโจมตีพวกอั้งยี่ซึ่งคุมพลนอกกำแพงเมืองและตามโรงหีบน้ำตาลหลายแห่งทำท่าจะสู้แต่เมื่อรู้ว่ามีสองกองทัพใหญ่มารุมกระหนาบโอบล้อมลอบข้างเมืองฉะเชิงเทราเอาใว้อยู่ด้านนอกทั้งสองด้าน​ ก็ไม่คิดสู้แล้วได้แตกหนีเอาตัวรอด​ ทางการก็ไล่ตามจับเผาโรงหีบน้ำตาลไล่ออกมา​ แล้วฆ่าตายไปเป็นจำนวนมากและได้หลบหนีไปก็ไม่น้อย​ คราวนี้ก็ถึงทีพวกอั้งยี่ที่ยึดเมืองฉะเชิงเทรา​ สถานการณ์นั้นข่าวทางการมีว่า​ จีนเซี่ยงทองเป็นตัวเฮี่ย​ จีนบู๊เป็นยี่เฮีย​ แต่เมื่อเข้าที่คับขัน​ จีนเซี่ยงทอง​ ตั้วเฮียก็ส่งท่านผู้หญิงหุ่นตัวประกันออกมาเจรจาได้สารภาพว่าตั้วจีนเซี่ยงทองนั้้​น​ ไม่ใช่ตั้วเฮียตัวจริงแต่ถูกจีนบู๊(ยี่เฮีย)​บังคับให้เล่นบทตั้เฮียและจีนเซี่ยงทองได้ขอเงื่อนใขไม่ให้เอาผิด​ ด้วยการคุมกำลังเข้าไปจับจีนบู๊ด้วยตัวเอง​ เจ้าพระยาพระคลังรับข้อเสนอส่งทหารกำกับจีนเซี่ยงทองไปจับจีนบู๊ตั้วเฮียอั้งยี่ตัวจริงได้โดยไม่มีการต่อสู้​ จับตัวหัวหน้าอั้งยี่ได้แล้วลูกน้องอั้งยี่ก็หนีกระเจิดกระเจิงไปคนละทิศคนละทาง​ ทางการทหารไล่ตามจับตัวส่วนที่ต่อสู้ก็ถูกทหารฆ่าตายเป็นจำนวนมาก​ ศพเต็มไปทั่วท้องทุ่งนา​ ส่วนศพที่ลอยเกลื่อนแม่น้ำก็มากเสียจนชาวบ้านไม่กล้าลงอาบน้ำส่วนพวกอั้งยี่ที่จับได้ก็คุมตัวเข้าพิจารณาโทษในกรุงเทพฯส่วนระดับหัวหน้าคดีมีมูลความผิดร้ายแรงก็ให้ลงโทษถึงประหารชีวิต​ จีนเซี่ยงทองศาลเห็นว่าทำความชอบแก้ตัวได้ไม่เอาความผิดส่วนระดับลูกน้องที่มีโทษสถานเบาก็ให้สักเป็นตัวอักษรไทยที่แก้มใบหน้าด้านหนึ่งและอีกด้านหนึ่งสักเป็นอักษรจีนใว้อีกแก้มหนึ่งเป็นคำว่าตั้เฮียแล้วให้ปล้อยตัวไป​ชาวจีนบางกลุ่มก็หนีมาผึ่งใบบุญเจ้าเมืองประจันตคาม
                             แล้วต่อมาปี พ.ศ.2392 เมืองประจันตคามเกิดอุบัติขึ้นเกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดหนัก โดยมีจุดเริ่มต้นที่ปีนังแล้วได้แพร่ระบาดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สยาม รุนแรงมากจนมีผู้เสียชีวิตถึง15,000-20,000คนภายในเวลาเพียง1เดือน จนกระทั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั้งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 ได้มีเหล่ามิชชันนารีและหมอนำการรักษาแบบตะวันตก เข้ามายังประเทศสยาม แล้วต่อมา ในสมัยของเจ้าเมืองประจันตคามคนที่2ก็ได้ย้ายเมืองประจันตคามมาสร้างอยู่ที่ใหม่ บางเมืองบางหมู่บ้านในสยามก็ได้ย้ายบ้านย้ายเมืองสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เนื่องจากมีคนล้มตายกันจึงได้มีการย้ายบ้านย้ายเมืองมาสร้างขึ้นใหม่เช่นเมืองประจันตคามก็ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่วัดเมืองใหม่(วัดทัพช้าง)​
วัดเมืองใหม่(วัดทัพช้าง)​ในปัจจุบัน
พระพุทธรูปในวิหารวัดเมืองใหม่(วัดทัพช้าง)​

รูปหล่อหลวงปู่เส็ง ท่านเป็นบุตรท้าวเคนหลวงอินทร์วงศาใช้นามสกุลระวังป่า( ภาพในปัจจุบัน)​ในวัดเมืองใหม่(วัดทัพช้าง)​ วัดอรัญญารามก็ได้ย้ายมาสร้างใหม่ใช้ชื่อวัดหนองคิม  


พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)เจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 2 มีบุตร 15 คน บุตรชาย 9 คนบุตรหญิง 6 คน (รายชื่อไม่ได้เรียงตามลำดับที่จำได้)
  1. ท้าวเสน หลวงศักดาสำแดงยกกระบัตร 
  2. ท้าวคำ หลวงขัตติยะ 
  3. ท้าวสิงห์ 
  4. ท้าวล่า 
  5. ท้าวแสนชัย หลวงชัยสุนทร 
  6. ท้าวเคน หลวงอินทร์วงศา 
  7. ท้าวบุตร หลวงชัยสุนทร 
  8. ท้าวเถื่อน หลวงพรหมสุภา
  9. ท้าวเม๋นหลวงอินทวงศา(บางคนก็บอกว่าไม่ได้รับตำแหน่งอะไร)​เพราะเป็นลูกรักบิดาไม่ให้รับราชการเพราะว่าได้เกิดในค่ายรบที่รบกับญวนที่เขมรแล้วได้ชัยชนะเข้าครองเขมร แต่อยู่เบื่องหลังในการทำงานของบ้านเมืองประจันตคามมาโดยตลอด ส่วนท้าวล่ากับท้าวสิงห์  ไม่ปรากฏว่าได้รับบรรดาศักดิ์อะไร(ส่วนท้าวแสนชัยตาย)
  10. นางป้องออกเรือนกับขุนจำนง  
  11. นางเบาะ  ออกเรือน กับขุนกางคดี (ท้าว) 
  12. นางที ออกเรือนกับหลวงคลัง (ท้าวภู บุตรของพระภักดีเดชะท้าวคำ) 
  13. นางสอน ออกเรือนกับขุนชัยสงคราม (หมุ่ง) 
  14. นางจันทาออกเรือนกับขุนสารเลข (จันดี) 
  15. นางทุมออกเรือนกับหลวงสง่านคร  (ท้าวขำบุตรของพระภักดีเดชะท้าวสุวรรณ)                
ในปัจจุบันบ้านเรือนบุตรหลานเหลนโหลนหล่อนของพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) ส่วนมากไปอยู่ที่จังหวัดอื่นส่วนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตปราจีนบุรีอำเภอประจันตคาม ตำบลคำโตนด เช่นบ้านข้างอนามัยหนองคิมและเขตบ้านหนองคิม บ้านหองไฮ บ้านโนนมี่ (วัดอรัญเก่า) บ้านบุตรโคตร บ้านคำแพง บ้านหนองสองห้อง บ้านคำหิน บ้านหนองกระยัง บ้านนางาม บ้านทุ่งสบก บ้านหนองข่าตำบลนนทรี บ้านหนองข้าวหลาม บ้านหนองกะโล บ้านโนนผาสุข บ้านกะไม้ บ้านตะเคียนทอง บ้านโนนอีผอง บ้านโนนแดงน้อย บ้านเนินมะไฟ บ้านหนองคุ้ม บ้านหนองเอี่ยน บ้านวังอีหงษ์ บ้านเนินแดง บ้านบุฟ้าย บ้านนาล้อม บ้านหนองแสง บ้านโนนมะเล บ้านเนินสูง บ้านหนองกวาง ตระค้อ บ้านว่าน บ้านท่าเรือ บ้านโพธิ์งาม บ้านทัพช้างเมืองใหม่ บ้านคำเลียบ บ้านคำภู เกาะลอย บ้านหอย ดงบัง บ้านอินไตร และจังหวัดสระแก้ว ต.หนองบอน บ้านนาล้อม บ้านท่าแยก ตำบลศาลาลำดวน บ้านนองไทร บ้านโคกอีหลง บ้านวัดหนองนกเขา วัดแก่งไทร เขตท่าเกษม เขาสามสิบ เขาฉกรรณจ์ อรัญประเทศ คลอง6 ปทุม กทม และต่างประเทศ และที่อื่น นามสกุลที่ไช้ในเขต บ้านอรัญ  หนองคิม โนนมี่ ในสมัยก่อนที่เริ่มใช้นามสกุลครั้งแรกส่วนมาก เข้าครอง ชัยจำ อินทร์จันดา โพธิ์ลังกา อาศัยราฎร์ บุญธรรม สีสังข์ มาลากุล ล้อมเวียง เวียงจันทน์ หมู่มาก ผลาหาร ตรงฉิน เทียนเพลิง เทียนทอง เจียมจักร อัตตาโว ลาโว แม่นปืน ชำนาญปืน ที่จำได้ นามสกุลบางหมู่บ้านเขียนนามสกุล เข้าครอง เพี้ยนเป็น ล่องคลอง ก็มี และกลุ่มลูกผู้พี่ได้ใช้นามสกุลโพธิ์ลังกา อินทร์จันดา ชัยจำ ลาโว สมวาที ส่วนลูกผู้น้องใช้นามสกุลทูคำมี แม่นปืน เจียมจักร  จันทาโท ก้องกังวาลย์ หนักแน่น ที่จำได้ ส่วนที่รับใช้ราชการเอานามสกุลหลวงทีตั้งใว้ให้ก็มี จะมีเดชกับมีวงศ์นำหน้าและหลัง แล้วต่อมาใด้มีนามสกุลฝ่ายผู้หญิงเพิ่มมาอีกมีหลายนามสกุลเพราะในสมัยนั้นเครือญาติจะได้กันเองเช่นลูกของญาติผู้พี่จะมาได้กับญาติผู้น้องและญาติผู้น้องมาได้กับญาติผู้น้องและญาติผู้พี่มาได้กับญาติผู้พี่ แล้วกลุ่มลูกหลานที่ใช้นามสกุลเข้าครองและอินทร์จันดากับกลุ่มเครือญาติลูกผู้น้องมีนามสกุลก้องกังวาลย์ หนักแน่น กับเครือญาติผู้พี่ที่ใช้นามสกุลอื่นอีกหลายนามสกุล ได้ย้ายไปตั้งหมู่บ้านใหม่สร้างวัดใหม่ก่อนปี พ.ศ.2393 ถึงปี พ.ศ.2498 ได้ย้ายออกจากบ้านอรัญและหนองคิมไปอยู่ที่อื่น เช่น กลุ่มลูกหลานท้าวเม็น ท้าวหมื่นหรือท้าวขุนบุตรหลานชื่อนายบุญ เข้าครอง กับ นายแน่น เข้าครอง  และเครือญาติฝ่ายผู้หญิงและญาติฝ่ายพี่ ไปตั้งหมู่บ้านอยู่ที่บ้านหนองเอี่ยน บ้านวังอีหงษ์(บ้านหนองคุ้ม) แล้วก็ได้ร่วมกันสร้างวัดหนองคุ้มแล้วก็ได้ขยายหมู่บ้านเพิ่มมาอีกในปัจจุบันและกลุ่มลูกหลานของท้าวเม็นท้าวหมื่นท้าวขุน และลูกหลานและญาติ มีนายบัวเข้าครองนางแพงไปตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านนาล้อมตำบลหนองบอนจังหวัดสระแก้วและเครือญาติส่วนผู้เป็นน้องชายคือนายเปลื่องเข้าครองกับภรรยาคือนางถินเข้าครองนางถินนามสกุลเดิมของบิดา บิดาท่านเป็นคนจีนชื่อเจ็กฮุยแซ่ตั้งต่อมาเปลี่ยนเป็นแสะสารได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนกับเครือญาติที่ใช้นามสกุลอินทร์จันดานามสกุลก้องกังวาลย์ หนักแน่น ชัยจำ กงแก้ว อาศัยราฎร์  อาษาศึก แสะสาร และ มีอีกหลายนามสกุลที่จำไม่ได้ ได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนสร้างวัดหนองนกเขา จนมีคนเรียกหมู่บ้านเมืองประจันตคามน้อยในเขตอำเภอสระแก้ว เขตท่าเกษม ต.หนองบอน ต.ท่าแยก ต.ศาลาลำดวน วัดหนองไทร โคกอีหลง วัดแก่งไทร วัดหนองนกเขา ในตลาดสระแก้ว เขตวัฒนา  ท่าเกษมเขตเขาสามสิบ ต.บ้านไผ่ และในอรัญประเทศ และ ที่อื่นอยู่ในเขตอำเภอสระแก้ว ในปัจจุบันนี้คือจังหวัดสระแก้วเครือญาติกลุ่มญาติผู้พี่ฝ่ายผู้หญิงกับผู้น้องของนายเปลื่องเข้าครอง และนามสกุลก้องกังวาลย์ หนักแน่นเป็นนามสกุลของนางแพงกับนางพรรณบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ) ครั้งก่อนนางพรรณกับแพงพาครอบครัวและเครือญาติมาตั้งหมู่บ้านใช้ชื่อบ้านคำแพง บ้านหนองสองห้อง แล้วต่อมารุ่นลูกหลานได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ส่วนมากไปอยู่ในเขตสระแก้ว และที่อื่น และยังมีอีกกลุ่มที่อยู่บ้านโนนบ้านห้างเก่าข้างวัดอรัญเก่ามาตั้งหมู่บ้านสร้างวัดบุตรโคตร(โคตรบุตร)เป็น กลุ่มหลานท้าวเม๋นบิดาของท้าวหมื่นต่มาเป็นขุน ลูกผู้พี่ของนายเปลื่อง เข้าครอง และอีกกลุ่มตั้งบ้านเรือนสร้างวัดเนินสูงกับวัดเนินแดงเป็นกลุ่มพี่ชายท้าวเม๋น พี่ชายคนโต ชื่อ ท้าวเสน หลวงศักดาสำแดงยกกระบัตรใช้นามสกุลโพธิ์ลังกาและกลุ่มวัดบ้านว่าน ฝั้งตรงข้ามวัดที่ใช้นามสกุล ล่องคลอง ชำนานปืน แม่นปืน ทูคำมี และอีกหลายนามสกุล ส่วนมากคนในสมัยก่อนบ้านเรือนจะอยู่ที่บ้านอรัญหนองคีมแล้วได้ย้ายออกไปตั้งบ้านเรือนกันใหม่ที่อยู่ในหลายตำบลและหลายจังหวัด ตำบลคำโตนดส่วนมากมาจนถึงในปัจจุบันนี้จะเป็นลูกหลานเหลนโหลนหล่อนของเจ้าเมืองประจันตคามทั้ง4คนและเครือญาติของท่าน             
 
พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)ได้สั่งให้ลูกหลานให้สืบปฏิบัติกันต่อมา

    "อยู่เมืองเขา อยู่บ้านเขา อยู่ที่ดินเขา อย่าทำให้เขาเดือดร้อน อย่ายุแยง อย่าทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน จงอย่าลืมพระคุณแผ่นดินที่มีชื่อว่าสยาม จงอย่าลืมพระคุณเจ้าของแผ่นดินที่มีชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวกันทุกพระองค์ จงรักชาติบ้านเมืองของตัวเอง จงรักศาสนาบำรุงสืบต่อไป จงรักพระมหากษัตริย์ราชวงศ์กันทุกพระองค์ จงรักบรรพบุรุษบิดามารดาและครูบาอาจารย์ ถ้ารู้ว่าเป็นเทือกเถาเหล่ากอเดียวกัน ให้ให้รักกัน ให้ช่วยเหลือกัน ห้ามข้ามกัน ห้ามแข่งกันเป็นนาย อย่าเชื่อคนนอกที่เข้ามาอยู่มากกว่าคนใน อย่าเห็นคนพูดเก่งดีกว่าคนทำ อย่าเข้าไปมีส่วนร่วมยุ่งเกี่ยวข้องกับยาเสพติด"(ถ้าไอ้อีผู้ไดไม่เชื่อฟังให้ชิบหายไป)

 ต่อมาปีพ.ศ2421เกิดเรื่องใหญ่ ของค่าหลวงฝ่ายในผู้ใกล้ชิด ของเจ้าเมืองปราจีนบุรี เรื่องราวคดีพระปรีชากลการเจ้าเมืองปราจีนบุรีที่บางปะอิน จากเหตุการณ์งานฉลองวัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งเป็นงานที่บรรดาขุนนางข้าราชการชั้นสูงทั้งโทยและต่างชาติไปร่วมงานโดยเป็นที่โจษจันกันในหมู่ผู้ที่มาร่วมงานว่าบุตรสาวของกงสุลอังกฤษชื่อแฟนนีน็อกซ์ไปร่วมงานแทนบิดาไม่ได้ค้างคืนในสถานที่ทางการจัดใว้ให้แต่ไปค้างบนเรือของพระปรีชากลการจนทำให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ขุนนางผู้ใหญ่ต้องขึ้นไปบนเรือของพระปรีชากลการ และยังมีเรื่องบ่อทองเมืองกบินบุรีในที่สุดคณะผู้พิพากษาได้ตัดสินคดีวันที่22พฤศจิกายนพ.ศ2422โดยมีมติเห็นพ้องกันว่าพระปรีชากลการซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นที่ปรึกษาในพระองค์และเป็นเจ้าเมืองปราจีนบุรีและผู้ดูแลบ่อทองเมืองกบินบุรีแต่กลับมีพฤติกรรมการฉ้อโกงและพยายามปกปิดการทรามานคนจนเสียชีวิตถือเป็นการกระทำเกินอำนาจโดยไม่เกรงกลัวพระราชอาญาจึงมีความผิดอุกฤษฏ์โทษให้ริบราชบาทว์ถอดยศบรรดาศักดิ์ลงพระราชอาญาเฆี่ยน3ยกและนำตัวไปประหารชีวิตเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างใกล้ฝั่งวัดหลวงปรีชากูลที่เมืองปราจีนบุรีในวันที่24พฤศจิกายน พ.ศ2422 จึงทำให้คนเมืองปราจีนบุรีมีมนทินติดตัวมาถึงทุกวันนี้ ต่อมา
พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) ว่าราชการเมืองประจันตคามปีพ.ศ. 2381 ถึง ปีพ.ศ.2424 ว่าราชการเมืองประจันตคาม อยู่นานถึง44ปีก็สิ้นชีพิตักษัย  มีคนแก่บอกเล่าต่อกันมาว่า  พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) ท่านจงรักภักดีต่อบ้านเมืองมาก ท่านได้เดินตามรอยพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ทุกอย่างท่านได้ให้ชาวบ้านชาวเมืองที่อพยพมาได้จัดที่ดินทำมาหากินให้ได้อยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อนของลาวที่มีสำเนียงเดียวกันและมีประเพณีเดียวกัน
    
         แล้วก็สั่งใว้ว่า ลูกหลานจงจำใว้ให้ดี แผ่นดินเมืองประจันตคาม พวกกูและหน้ากูกับพี่น้องเมืองประจันตคามของกู ยอมเสียเลือดเสียเนื้อ แลกแผ่นดินใว้ให้กับลูกหลานเหลนโหลนหล่อน เมืองประจันตคามใว้อยู่สืบต่อไป แผ่นดินนี้พวกกูได้ข้ามโขงมา ได้ผ่านมาหลายเมือง แล้วพวกกูได้เห็นได้เบิ่งได้ดู ว่า เมืองประจันตคาม ที่พวกกูกับหน้ากูตั้งเมือง ถึงจะเป็นดินทราย แต่ใต้ดิน บ.ขาดน้ำหรือไม่ขาดน้ำ แล้วยังติดกับเขา ใกล้ทะเล ถ้าขยันอยู่แล้ว บ.อด บ.หยาก กูขอ บอกพวกมึง ให้ลูกหลาน เหลนโหลนหล่อน ของพวกมึง ดูแล เมืองประจันตคาม ให้สืบต่อไป อย่าให้ไอ้อีผู้ไดมาทำลายแผ่นดิน และ ประเพณีของพวกกู ที่หาใว้ให้กับพวกมึง





ในสมัยรัชกาลที่4เมื่อปีพ.ศ.2399นายอินบ้านอยู่ในเขตพระรถศรีมโหสถอวัธยปุระ(เมืองปราจีน)​พาบุตรชายชื่อนายยังไปหาขุดมันนกในในป่าที่ชายป่าหางดงศรีมหาโพธิได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำเนื้อหกหนัก8ตำลึงจึงนำมามอบให้กับพระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ปลัดเมืองแปดริ้ว(เมืองฉะเชิงเทรา)​นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สองคนพ่อลูกนี้มีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน

         บริเวณที่ขุดพบพระพุทธรูปทองคำเนื้อหก    เมื่อขุดพบได้พระทองคำมิได้ยุบหลอมนำไปซื้อขายจ่ายเป็นอาณาประโยชน์ และซ้ำยังมีน้ำใจทูลเกล้าถวาย จึงพระราชทานรางวัลเงินตรา8ชั่งแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานอัญเชิญไปเก็บใว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตรพร้อมกับพระกริ่งทองคำองค์น้อย ต่อมาปีพ.ศ.2403 มีผู้ร้ายลักพระกริ่งทองคำองค์น้อยซึ่งตั้งอยู่กับพระกริ่งทองคำที่ขุดได้ จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปซึ่งนายอินกับนายยังสองพ่อลูกได้ทูลเกล้าฯถวายนั้นก็เป็นทองคำทั้งองค์ใหญ่กว่าพระกริ่งทองคำองค์น้อยควรที่ผู้ร้ายจะลักพระพุทธรูปทองคำองค์ที่ใหญ่กว่าไป ก็ให้เเคล้วคลาดถึง2ครั้ง ผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตรายยุบหลอมเสียและคนร้ายก็ไม่ลักไปเป็นอัศจรรย์อยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่4 จึงถวายพระนามพระพุทธรูปทองคำเนื้อหกองค์นั้นว่า "พระนิรันตราย" 




พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 เสด็จประพาสในเขตเมืองพระรถศรีมโหสถอวัธยปุระ (เมืองปราจีนบุรี)​ปีพ.ศ.2415 ในครั้งแรกโดยเสด็จผ่านเมืองนครนายกถึงเมืองปราจีนบุรีได้ประทับแรมที่เมืองปราจีนบุรีคืนหนึ่งรุ่งขึ้นเสด็จประพาสดงตาแทนวันที่สองเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการจับจระเข้ที่คลองบางพลวงและวันที่สามเสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจป้อมและกำแพงเมืองปราจีนบุรีที่ทรงสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2416

แล้วต่อมา เจ้าเมืองหัวเมืองตะวันออก
ได้รับข่าว ปีพ.ศ.2417 กองทัพฮ่อยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ แล้วข้ามแม่น้ำโขงมาตีเมืองหนองคาย ตามรายงานของทัพข้าหลวงของสยามที่ได้ยกทัพหัวเมืองอีสานไปตีทัพฮ่อที่หนองคาย ระบุว่าเมืองเวียงจันทน์ ถูกทัพฮ่อ"เผาเสียหายมาก


วัดและอาราม ถูกเผา พระพุทธรูปและสถุปถูกขุดหาของมีค่า พระธาตุหลวงถูกขุดทุบจนยอดพระธาตุหักพังลงมา หลวงพระบางก็ถูกเผา" เมืองเก่าของชาวบ้านชาวเมืองที่อพยพมาอยู่ภาคตะวันออกได้ถูกทัพฮ่อเผาลง ชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามเสียใจกันมากจนบางคนบางกลุ่มได้กลับไปดูเมืองเวียงจันทน์ที่ถูกทัพฮ่อเผาลงได้กลับมาบอกชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามได้รับรู้ ในสมัยนั้นชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามบางกลุ่มยังกลับไปร่วมประเพณีในวันสำคัญของเมืองเวียงจันทน์กันอยู่ นับแต่เมืองเวียงจันทร์ถูกเผาลงคนเมืองประจันตคามก็ไม่ได้ไปอีกเลย แต่ก็ได้จัดงานประเพณีทำบุญรำลึกให้กับพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้ง พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)เจ้าเมืองคนที่2ได้สืบเป็นเจ้าเมืองประจันตคามในปีพ.ศ.2381ที่วัดแจ้งเมืองเก่า

                แล้วต่อมาหลวงสุรฤทธา ปลัดเมืองประจันตคาม (ท้าวคำ) ผู้เป็นน้องชายพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) ได้โปรดเกล้าได้เลื่อนตำแหน่งสืบเป็น


พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)เจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 3 แล้วต่อมาในปี พ.ศ.2426 หลวงศักดิ์ดาสำแดงยกกระบัตร(ท้าวโท) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมืองประจันตคาม ท้าวผา บุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ซึ้งบัดนี้มีวัยวุฒิพอรับราชการได้แล้ว เป็นหลวงพลภักดีตำแหน่งนายกองด่านฯ   พระภักดีเดชะ (ท้าวคำ) เป็นเจ้าเมืองประจันตคาม คนที่ 3 มีบุตร 21 คน มีบุตรชาย 10 คน บุตรหญิง 11 คน

  1. ท้าวพรหมา เป็นขุนจำเริญ
  2. ท้าวป้อง เป็นขุนต่างใจ 
  3. ท้าวฟอง เป็นขุนภักดี
  4. ท้าวภู เป็นขุนอรัญไพรศรี (เป็นถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่4ได้เป็นหลวงคลังเมื่อท้าวฮุยตาย) 
  5. ท้าวสุ่ย ไม่มีบรรดาศักดิ์ 
  6. ท้าวฮุย เป็นขุนคลัง (ได้เป็นหลวงในสมัยเจ้าเมืองคนที่4) 
  7. ท้าวปุย เป็นขุนรองปลัด (เป็นหลวงแพ่งในสมัยเจ้าเมืองที่4) 
  8. ท้าวชาลี เป็นขุนจำเริญ (เมื่อท้าวพรหมาตาย) 
  9. ท้าวกิ่ง เป็นขุนแพ่ง 
  10. ท้าวคำมี เป็นขุนทิพพร 
  11. นางผุสดี
  12. นางบุตร 
  13. นางตา 
  14. นางจันทร์ 
  15. นางจีน 
  16. นางเคน 
  17. นางสอน 
  18. นางพา 
  19. นางพรรณ
  20. นางแพง 
  21. นางพิมพ์  
ในปัจจุบันบ้านเรือนของบุตรหลานเหลนโหลนหล่อนของพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ) ส่วนมากตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหนองสองห้อง บ้านนางาม ทุงสบก หนองข่า หนองข้าวหลาม เขาตะแบก เนินผาสุข วัดศรีมงคล บ้านกำแพง บ้านบุตรโคตร บ้านวัดคำภู บ้านวัดคำเลียบ  บ้านตะเคียนทอง บ้านเนินมะไฟ บ้านข้างอนามัยหนองคิมบ้านหนองคุ้ม บ้านหนองกะไม้ ตำบลหนองแสง และอำเภอประจันตคามอีกหลายหมู่บ้าน ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้วถึงอรัญและที่จังหวัดอื่น นามสกุล ส่วนมากที่ใช้ ผลาหาร ก้องกังวาลย์ หนักแน่น และมีอีกหลายนามสกุล นามสกุล จันทาโทเป็นนามสกุลของบุตรท้าวสุโท ออกเรือนกับบุตรนางจันทา นางจันทาเป็นบุตรพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)ท้าวสุโทเป็นบิดาของพระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ)และท้าวสุโทเป็นน้องของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)กับพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)จันทาโท ที่จำได้ นามสกุลจันทาโทเป็นของกลุ่มครัวเครือญาติโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยาประจันตคาม

ที่ได้ย้ายมาจากบ้านเนินคำเลียบ ของอาจารย์บุญยิ่ง จันทาโท และกลุ่มของหลวงพ่อเส็ง ท่านเป็นบุตรของท้าวเคน หลวงอินทรวงศากับนางทองสี ใช้นามสกุลระวังป่า ท้าวเคน หลวงอินทรวงศาเป็นบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)และกลุ่มหลานของบุตรของเจ้าเมืองมีอีกหลายนามสกุล นามสกุล ผลาหารส่วนมากจะใช้ทั้งลูกหลานของเจ้าเมืองทั้ง3เจ้าเมืองเพราะในสมัยนั้นนิยมนามสกุลนี้ คนเฒ่าคนแก่บอกต่อว่ามาเอานามสกุลที่อำเภอ พอเจ้าหน้าที่ถามจะเอานามสกุลอะไร ส่วนมากจะเอานามสกุล ผลาหาร  และนามสกุลอื่นก็มี   แล้วต่อมา
พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)มีอายุมากแล้วว่าราชการเมืองประจันตคาม ปี พ.ศ.2426 ถึงปี พ.ศ.2431 ว่าราชการอยู่ได้ 6 ปี  ก็สิ้นชีพิตักษัย แล้วต่อมา  หลวงศรีวิเศษ (ท้าวสุวรรณ) ผู้ช่วยราชการขวาได้เลื่อนตำแหน่งสืบเป็น พระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ) เป็นเจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 4 ปี พ.ศ.2432  ส่วนหลวงสุรฤทธา (ท้าวโท)ปลัดเมืองประจันตคามเป็นบุตรของ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองคนที่ 1 ท่านเป็นง่อยไม่สามารถรับราชการได้จึงขอลาออก ให้ท้าวพรหมาบุตรคนที่ 1 ของพระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ)  เจ้าเมืองคนที่ 4 เป็นขุนคลังขึ้นเป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมืองประจันตคาม แทนพระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ) มีบุตร 9 คน บุตรชาย 5 คนบุตรหญิง 4 คน

  1. ท้าวพรหมา เป็นหลวงสุรฤทธา 
  2.  ท้าวขำ เป็นหลวงสง่านคร 
  3. ท้าวจันทร์ เป็นหลวงเทพบุรี 
  4. ท้าวผง เป็นหลวงพลภักดี 
  5. ท้าวเพ็ง เป็นหลวงสุภา 
  6. นางผิว 
  7. นางคำมี 
  8. นางสีดา 
  9. นางดำ 

บ้านเรือนของบุตรหลานเหลนโหลนของพระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ) ส่วนมากตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านคำเลียบบ้านคำภูและที่อื่นอีกหลายที่  และจังหวัดอื่น         พระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ) ว่าราชการเป็นเจ้าเมืองประจันตคาม ปี พ.ศ. 2432 ถึงปี พ.ศ. 2444 ว่าราชการได้ 13 ปี  ก็สิ้นชีพิตักษัย


ธงพื้นแดงมีรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลางใช้ในรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6  ปีพ.ศ. 2394-2459



      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราโชบายในการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หลังจากที่ทรงจัดระบบกรมกองเป็นกระทรวงขึ้นเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาทรงโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองให้เป็นระบบ   เทศาภิบาล และรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่เข้าด้วยกัน ในปี พ.ศ.2434 ได้โปรดเกล้า ให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือและจัดแบ่งออก เป็นภาคๆเพื่อสะดวกในการดูแลและปกครอง โดยมีข้าหลวงไปประจำรักษาเป็นภาคๆ ดังนี้  ภาคลาวกาว ได้รวบรวมหัวเมืองทางตะวันออกใว้ ได้แก่ เมืองอุบล เมืองจัมปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองอัตบือ เมืองสาลวัน เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีษะเกษ เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาศัย เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม รวมเมืองใหญ่21เมือง เมืองขึ้นอีก43เมือง โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ คอยดูแลและปกครองหัวเมืองในภาคนี้  ภาคลาวพวน รวบรวมหัวเมืองทางตะวันออกอีกด้านหนึ่งเข้าใว้ด้วยกันได้แก่ เมืองหนองคาย เมืองเชียงขวาง เมืองบริคัณหนิคม เมืองโพนพิสัย เมืองนครพนม เมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี เมืองสกลนคร เมืองมุกดาหาร เมืองขอนแก่น เมืองหล่มศักดิ์ รวมเมืองใหญ่ 11 เมือง เมืองขึ้นอีก 36 เมือง เรียกรวมกันว่า ภาคลาวพวน มีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่ ภาคลาวเหฉียง รวบรวมหัวเมืองทางตอนเหนือของประเทศไว้ด้วยกัน ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองน่าน เมืองแพร่ เมืองเถิน เมืองเชียงราย และเมืองขึ้นของหัวเมืองเหล่านั้นรวมกันเป็นภาค เรียกว่าภาคลาวเหฉียง โดยมีพระยาไกรโกษาเป็นข้าหลวงใหญ่ ภาคลาวพุงขาว รวบรวมหัวเมืองทางเหนือ บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ เมืองหลวงพระบาง สิบสองปันนา สิบสองจุไท หัวเมืองทั้งห้าทั้งหกซึ้งเป็นหัวเมืองขึ้นในพระราชอาณาเขตเรียกรวมกันว่า ภาคลาวพุงขาว โดยมีกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่และได้ให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท(ศุก)รักษาการแทน สำหรับหัวเมืองในแคว้นสิบสองจุไทและหัวเมืองทั้งห้าทั้งหก ยามที่สยามวุ่นวายด้วยงานบ้านเมืองและสงครามและญวนมีกำลังที่เข้มแข็งขึ้นหัวเมืองดังกล่าวก็จะเข้าฝักใฝ่กับญวน แต่ส่วนมากก็มักจะขึ้นกับฝ่ายสยาม จึงเรียกดินแดนทั้งสองนี้ว่า "เมืองสองฝ้ายฟ้า"ขึ้นกับทั้งสองฝ่ายคือ ขึ้นกับหลวงพระบางด้วยและขึ้นกับญวนด้วยในเวลาเดียวกัน ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้กับจีนก็ต้องขึ้นกับจีนด้วย เรียกว่า"เมืองสามฝ้ายฟ้า" ในแต่ละภาคเมืองที่ทรงจัดแบ่งก็โปรดจัดให้ข้าหลวงไปประจำดูแลปกครองเป็นภาคๆแต่การปรับปรุงระบบการปกครองในส่วนภูมิภาคดังกล่าวนั้นดำเนินไปอย่างไม่สะดวกนัก เนื่องจากหัวเมืองบางแห่งยังคงซ้ำซ้อน เป็นปัญหาในการยึดครองและเป็นพิพาทอยู่กับฝรั่งเศสที่อ้างสิทธิ์จากการที่ได้ครอบครองเมืองญวนและลาว โดยเมืองขึ้นต่างๆที่เป็นของญวนก็ต้องตกเป็นเมืองขึ้นแก่ฝรั่งเศส ด้วย เมื่อเริ่มปฏิรูปการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาลเมื่อปีพ.ศ.2435จึงได้ใช้เมืองปราจีนบุรีเป็นที่ว่าการ "มณฑลปราจีน"เมื่อปีพ.ศ.2435ประกอบด้วยเมืองปราจีนบุรี เมืองชลบุรี เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองบางละมุง เมืองพนัสนิคม เมืองพนมสารคาม หมายถึงเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันออกและอีกประการหนึ่งคือมีการค้นพบแหล่งทองคำที่เมืองกบินทร์บุรี


มีการทำเหมืองทองคำในช่วงต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทำให้หัวเมืองปราจีนบุรีมีความสำคัญในฐานะที่หวังจะให้เป็นเมืองทางอุตสาหกรรมแร่ ที่ให้คุณค่าทางเศรษฐกิจ แล้วต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี กำลังทรงดำริปฏิรูปการปกครองหัวเมือง จะทรงยุบหัวเมืองเล็ก เช่นเมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรี ลงเป็นอำเภอจึงยังไม่ตั้งเจ้าเมืองอีก แต่ให้ หลวงสุรฤทธา(ท้าวพรหมา)ปลัดเมือง  ประจันตคาม รั้งราชการอยู่ 3 ปี ก็ถึงได้ยุบเมืองประจันตคาม ลงเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอประจันตคาม ในปีพ.ศ. 2448 รวมระยะเวลาก่อตั้งเป็นเมืองอยู่ 72 ปี แล้วต่อมา มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไปเมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 แต่เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างขวางจึงแยกออกเป็น จังหวัดนครนายก ในปีพ.ศ.2489 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จประพาส ปราจีนบุรี 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2415 และครั้งที่ิ 2 เมื่อปีพ.ศ.2451 โดยเสด็จประพาสทางชลมารคจากพระนครกรุงเทพฯทางคลองรังสิตลัดเลาะไปออกแม่น้ำนครนายกถึงเมืองปราจีนบุรีตอนบ่ายของวันที่16ธันวาคมพ.ศ.2451วันที่17ธันวาคม พ.ศ.2451ประทับเรือที่นั่งจากพลับพลาที่ประทับขึ้นมาตามลำน้ำปราจีนบุรีจนถึงศรีมหาโพธิที่บ้านนางวิ่ง
รัชกาลที่5เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เมื่อพ.ศ.2451
ซึ่งเป็นตำหนักพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ เสด็จพระราชดำเนินเลยขึ้นไปทอดพระเนตรบ้านท่าตูมซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นทางที่พวกบ่อทองลงแต่ได้เลิกทำทองแล้ว 
การเสด็จประพาสทางชลมารคโดยเรือชะล่า ของรัชกาลที่5 เมื่อพ.ศ.2451
เรือพระที่นั่งล่องกลับลงมาที่พลับพลาศรีมหาโพธิรุ่งขึ้นวันที่18ธันวาคม พ.ศ .2451เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโบราณสถานที่บ้านโคกขวางโดยทรงช้างพังหลังดี ของ
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่มอภัยวงศ์)​ชื่อ"กปุม"  โบราณสถานที่ทอดพระเนตรได้แก่โบราณสถานพานหิน 

                        โบราณสถานพานหิน
โบราณสถานลายพระหัตถ์ ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ"จปร ร.ศ.127" ไว้บนแผ่นศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ตั้งอยู่บนฐานเทวาลัย
                    โบราณสถานลายพระหัตถ์
และโบราณสถานหลุมเมือง
                       โบราณสถานหลุมเมือง
ต่อมามีผู้บันทึกไว้ภายหลังว่าเมืองโบราณที่บ้านโคกขวาง แต่เดิมไม่มีชาวบ้านไปปลูกบ้านอาศัยอยู่เลย เพราะมีบางคนเคยไปปลูกบ้านเรือนอยู่ก็ต้องมีอันเป็นไปหรือตายไปก็มีจึงไม่มีใครกล้าไปปลูกบ้านเรือนอีก แต่หลังจากในหลวงเสด็จพระราชดำเนินมาและทรงลงพระปรมาภิไธยย่อไว้บนก้อนศิลาแล้วก็ไม่มีใครเป็นอันตรายอีกจึงได้มีราษฎรไปปลูกบ้านเรือนประกอบอาชิพได้อย่างเป็นปกติสุขสืบมาจนทุกวันนี้ วันที่19ธันวาคมพ.ศ.2451ประทับเรือพระที่นั่งจากมณฑลปราจีนบุรีเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯพระราชดำเนินมาทางแม่น้ำปราจีนบุรีแล้วเข้าปากคลองบางขนากในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วตัดมาออกที่ปากน้ำเมืองสมุทร   ปราการ เข้ากรุงเทพฯ
   
เมืองปราจีนบุรีเป็นเมืองโบราณที่มีชื่อเรียกกันมาแต่ก่อนชื่อที่เรียกว่าเมืองพระรถศรีมโหสถอวัธยปุระ(เมืองปราจีน)​เมืองใกล้เคียงเมืองพระรถศรีพโล พระยาเล่ (ชลบุรี)​เมืองคชปุรนคร(บ่อทอง)​เมืองศรีวัตสะปุระ ชื่อเมืองเหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในชื่อเรียกขานของ"เมืองศรีมโหสถ"ซึ่งเป็นเมืองโบราณสถานขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกของสยามเมืองศรีมโหสถ เป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่11-18 มีสถานะเป็นเมืองท่าทางทะเลที่ติดต่อกับชุมชนภายนอกโพ้นทะเลและเป็นเมืองท่าภายในที่ติดต่อกับบ้านเมืองในดินแดนตอนในทั้งทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและที่ราบสูงของเมืองโคราชโคราฆะเสมา(นครราชสีมา)และที่ราบต่ำในขแมร์ (เขมร) ลักษณะของเมืองเป็นเมืองสมัยทวารวดี เช่นเดียวกับเมืองอู่ทอง ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือพันธุมบุรี (สุพรรณบุรี)​ เมืองนครไชยสินหรือเมืองนครชัยศรี (นครปฐม)​ เมืองพระรถศรีมโหสถอวัธยปุระ(ปราจีนบุรี)​ เมืองศรีมโหสถเป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงพื้นที่บริเวณที่ลาดต่ำน้ำหลากออกแม่น้ำบางปะกงปัจจุบันเมืองศรีมโหสถอยู่ห่างจากปากน้ำบางปะกงราว20กิโลเมตรเรือเดินทะเลสามารถเข้ามาทอดสมอได้ถึงหน้าเมืองเพราะยังปรากฎร่องรอยของทางน้ำหลายสายที่ไหลไปออกแม่น้ำบางปะกงได้นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านต้นโพธิทางตอนใต้ของเมืองศรีมโหสถยังมีการค้นพบชิ้นส่วนเสากระโดงเรือสำเภา ซึ่งเป็นพาหนะสำคัญในการเดินทางทะเลและในเขตเมืองปราจีนบุรียังมีการค้นพบของเก่าโบราณในยุคทวารวดี 

             แล้วต่อมา การเป็นมาของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เมื่อครั้งสมัย รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯโปรดเกล้าฯให้ขุนนางสยามออกไปกินเมือง โดยตอบแทนความดีความชอบแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร  (แบน) ที่ทำสงครามและร่วมจัดการความวุ่นวายในเขมร จึงทรงขอเมืองที่ติดกับสยามจากสมเด็จพระนารายณ์ฯ (นักองค์เอง) ให้พระยาอภัยภูเบศรป็นผู้ปกครองให้ขึ้นตรงต่อสยามโดยตรงเพื่อคอยคุ้มครองเขมรอย่างใกล้ชิด เขมรจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่ขึ้นตรงกับสยามโดยตรงเรียกว่า"เขมรส่วนใน"ประกอบด้วยหัวเมืองหลักๆคือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ โปริสาท (โพธิสัตว์) อุดงฤไชย และ"เขมรส่วนนอก"ตั้งแต่พนมเปญ ไปจนจรดเขตแดนภาคตะวันออก ติดชายแดนญวน มีเจ้าเขมรปกครอง การปกครองในเขตนี้มีลักษณะพิเศษเพราะถึงแม้จะขึ้นตรงต่อสยาม แต่ให้ปกครองกันเอง ตามประเพณีเขมร และให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เก็บภาษีใช้จ่ายในการปกครองได้ด้วยตนเอง
        แล้วต่อมา ตำแหน่งเจ้าเมืองพระตะบองอันเป็นศูนย์กลางของการปกครองเขมรส่วนใน จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลูกหลานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)ต้นสกุลอภัยวงศ์ตลอดมารวมเวลา 112 ปี (พ.ศ.2337-2449) และเมื่อเปลี่ยนจากระบบเจ้าเมืองเป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองเขมรส่วนนอกอยู่ใน"มณฑลบูรพา"ซึ้งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2446 ประกอบด้วยเมืองเสียมราฐ พระตะบอง พนมศก และ ศรีโสภณ หลังจากนั้นอีกราว 3 ปี  รัฐบาลสยามต้องทำ "อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904" แลกกับความเสียเปลียบในเรื่องสิทธิภาพนอกอาณาเขตและให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีซึ่งต่อเนื่องจนถึงการแลกเปลี่ยนเมืองตราดและด่านซ้ายในปี พ.ศ.2449 ซึ่งทางสยามต้องมอบพระตะบองเสียมราฐ และ ศรีโสภณ จึงทำให้

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ที่เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้ายและเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลบูรพา ก็ได้พาผู้สมัครใจทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนอพยพติดตามมาอยู่ ณ เมืองปราจีนบุรี

     ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้บริจากทรัพย์สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล บูรณปฏิสังขรณ์
วัดแก้วพิจิตรโดยเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างและออกแบบเอง และเป็นท่านตาของพระนางเจ้า          สุวัทนา พระวรราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสร้างตึกอภัยภูเบศร


ซึ้งตั้งใจรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น โดยเป็นตึกทรงเดียวกับที่พำนักในเมืองพระตะบอง ตึกดังกล่าวนี้ภายหลังเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลอภัยภูเบศรที่ท่านบริจาคที่ดินให้

ธงพื้นแดงมีช้างเผือกยืนบนแท่นหันหลังให้เสาธงใช้ในรัชกาลที่ 6 ปีพ.ศ.2459-2460


ธงพื้นแดงริ้วขาวแดงใช้ในปีพ.ศ. 2460 




        

  ต่อมาในสมัย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดให้มีการจดทะเบียน คนเกิดคนตายและการสมรสซึ้งเรียกว่างานทะเบียนราษฎร์ แต่ได้ปรากฎว่ามีบางคนชื่อซ้ำกัน ทั้งทั้งที่ไม่ใช่คนคนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงโปรดให้มีการตั้ง นามสกุล เพื่อใช้ในการสอบสวนตำนิรูปพรรณ สัณฐานบุคคล และเทือกเถาเหล่ากอ ตั้งแต่บิดามารดาให้ถูกต้องและแม่นยำโดยให้ตราพระราชบัญญัติ ขนานนามสกูลในปี พ.ศ.2456 ซึ้งออกประกาศในวันที่22มีนาคม พ.ศ.2455และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม พ.ศ.2456 โดยให้เสนาบดีผู้เป็นเจ้ากระทรวงบังคับการในท้องที่อำเภอทั้งในกรุงและหัวเมืองมีหน้าที่คิด ชื่อสกุล และหัวหน้าครอบครัวทุกครัวเรือนก็ต้องเลือกนามสกุลใดนามสกุลหนึ่งและให้จดทะเบียนชื่อสกุลนั้นใว้ที่ว่าการอำเภอท้องที่ 2 และได้ทรงพระราชทานชื่อนามสกุลหรือเรียกว่า "นามสกุลพระราชทาน" ให้แก่บุคคลต่างต่าง ได้แก่พระราชวงศ์ ข้าราชการและประชาชนเป็นจำนวน 6432 นามสกุล เพื่อให้เป็นตัวอย่าง แก่ประชาชนโดยทั่วไปได้ปฏิบัติตาม

ธงไตรรงค์ใช้ในปีพ.ศ.2460 ถึงปัจจุบัน



          

ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมืองอรัญประเทศได้รับเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นอำเภอในรัชกาลที่ิ 7 อรัญประเทศเดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกบินทร์บุรี หลังถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้วซึ้งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลังเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2536 







พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนิน มาจังหวัดปราจีนบุรีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508 เสด็จมาทอดพระกฐินต้น ณ วัดแก้วพิจิตร


และจังหวัดสระแก้วที่เป็นอำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี เสด็จพระราชดำเนินมาหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่6พฤศจิกายน พ.ศ.2512 โครงการพระราชดำริ โครงการพัฒนาพื่นที่ราบเชิงเขาอำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี  ตามพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ป่าบริเวณพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด(ภาคตะวันออก) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการทัพทิมสยาม ทั้งหมด 8โครงการ


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเกี่ยวข้าว เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2541  ที่ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งพสกนิกรชาวปราจีนบุรีได้ร่วมกันปลูกข้าวใว้ และในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นมีพระราชดำรัสว่า"ข้าวที่ผลิตได้นั้นไม่ควรมุ่งด้านการจำหน่ายแต่ควรหาวิธีการจัดระบบในรูปแบบของธนาคารการเกษตรโดยให้เกษตรกรยืมข้าวพันธุ์ไปปลูกแล้วนำมาคืนภายหลังในเวลาที่กำหนดโดยต้องวางระเบียบให้รัดกุมและเหมาะสม"




























ภาพผู้ชายยกมือแบมือสองข้างคือนายกิตติศักดิ์ เข้าครอง อยู่ข้างคนใส่หมวกแดง






พระกิตติศักดิ์ เข้าครอง



          


พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชดำเนิน มาเปิดอ่างเก็บน้ำ นฤบดินทรจินดา ในพระราชดำริ              (เขื่อนห้วยโสมง)   วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2560   หมู่12 ตำบล แก่นดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี




          




































ภาพนายเกียรติศักดิ์ เข้าครอง(กิตติศักดิ์ เข้าครอง)​










ภาพคนใส่แว่นดำ นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง

ภาพ ด.ญชนิษฐา เข้าครอง ด.ชไกรวิชญ์ เข้าครอง




ภาพ ด.ชไกรวิช เข้าครอง ถือธง

ภาพด.ญชนิษฐา เข้าครองกับแม่


           ต่อมามีนายอำเภอคนใหม่ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่อำเภอประจันตคามท่านมีชื่อว่า  นายอำเภอ
สมหมาย ฉัตรทอง เป็นนายอำเภอประจันตคาม คนที่35 เมื่อวันที่6ตุลาคม2529ท่านได้ย้ายมาอยู่เพียงไม่กี่วันท่านก็ได้เข้าหาประชาชนแล้วถามใถ่ทุกสุขของประชาชนแล้วท่านถึงรู้ว่าประจันตคามเป็นเมืองเก่าแล้วมีเจ้าเมืองคนเก่าท่านได้เสียชีวิตเพื่อชาติตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 นายสมหมาย ฉัตรทอง มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอประจันตคาม เพียง 27วัน (6ตุลาคม 2529 ถึง 21 พฤศจิกายน 2529)
ท่านไปกราบพระครูพิพัฒน์วิหารกิจ (หลวงพ่อลี)   เจ้าอาวาสวัดแจ้ง(เมืองเก่า)และเจ้าคณะอำเภอ ประจันตคาม หลวงพ่อได้เล่าให้นายอำเภอทราบประวัติ วีรบุรุษนักรบผู้กล้า ซึ่งเรือนร่างของท่านฝังอยู่ ณ สุสานในวัดแจ้ง(เมืองเก่า) ตรงข้ามศาลาการเปรียญของวัดแจ้ง(เมืองเก่า) อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจะไม่มีการฌาปนกิจศพ (เผา)โดยเด็ดขาด นายอำเภอ สมหมาย ฉัตรทอง จึงเกิดความคิดตามอุดมการณ์ที่กรมการปกครองปลูกฝังจิตสำนึกไว้ว่า"นายอำเภอคือผู้นำทางความคิด"ท่านจึงนับหนึ่งในการเริ่มสร้างอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) การก่อสร้างครั้งนี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุในหอสมุดแห่งชาติ จะคิดทำอย่างในประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่ได้ ต้องค้นคว้าให้ได้ข้อมูลความจริง จึงได้ศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มีข้อมูลอ้างอิงจนกรมศิลปากรยอมรับดังปรากฎออกมาเป็นบทความประวัติเมืองประจันตคาม นำไปลงพิมพ์ในวารสารเทศาภิบาล และเป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่างๆ ปรากฎอยู่ต้นเรื่อง แล้วได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหอสมุดแห่งชาติ โรงหล่อของกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร การทำเอกสาร ถ่ายรูปจากรูปปั้นหุ่นต้นแบบมาทำอาร์ตเวิร์ค และมาทำการประชาสัมพันธ์ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ แผนกศึกษาธิการอำเภอประจันตคาม มีนายคำสิน นึกรัก สรรพากรอำเภอประจันตคามขณะนั้นและโดยเฉพาะ  นายศักดิ์สิทธิ์ แย้มศรี ปลัดอำเภอประจันตคามขณะนั้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งปลัดเทศาภิบาลเมืองหนองปรือ(ระดับ9)อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ทำหน้าที่ขับรถติดต่อประสานงานเชิงลึก ทำหน้าที่ช่างถ่ายรูป และช่างศิลป์ประจำตัวด้วย สำหรับกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร มีคุณชิน ประสงค์ นายช่างศิลป์ของกรมศิลปากร เป็นผู้รับผิดชอบในโครงการปั้นรูปปั้นอดีตเจ้าเมืองประจันตคามและคุณสมควร อุ่มตระกูล เป็นช่างปั้น เร่งรัดให้เป็นพิเศษ เนื่องจากเห็นว่านายอำเภอ สมหมาย ฉัตรทอง มาติดตามบ่อยเดือนละ3-4ครึ้งจนสนิทสนมกัน ระยะแรกโรงหล่ออยู่ที่วังท่าพระ หน้าพระบรมมหาราชวัง การติดต่อประสานงานที่นั่นสะดวกไม่ไกลไปเวลาไปกรุงเทพฯ ก็แวะไปได้ ต่อมาโรงหล่อย้ายไปอยู่พุทธมณฑลสาย5ได้ติดตามไปประสานอีก ณ ที่   โรงหล่อแห่งนี้




          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงเสด็จโรงหล่อในโอกาสใดไม่ทราบ เป็นขณะเดียวกับที่ช่างศิลป์ได้ขึ้นรูปปั้นต้นแบบเท่าตัวจริงของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ไว้เรียบร้อยแล้ว ทรงทอดพระเนตรรูปปั้นอดีตเจ้าเมืองประจันตคาม ดังปรากฏในภาพ ที่นายช่างชินส่งมาให้ นับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่งสำหรับรูปปั้นพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ของคนประจันตคาม การประสานงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี วันที่4มีนาคม2530อำเภอประจันตคามทำหนังสือฉบับแรกประสานงานจังหวัดปราจีนบุรีให้ติดต่อกับกรมศิลปากร ดำเนินการปั้นรูปพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) วันที่7สิงหาคม2530 กรมศิลปากรยอมรับในข้อมูลประวัติศาสตร์ อนุมัติรับปั้นรูปพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)  เพื่อสร้างเป็นอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการอนุมัติให้สร้างได้ในระดับอำเภอ วันที่1มีนาคม2534เวลา12.45น นายประมวล รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี ขณะนั้นเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ สร้างฐานและแท่นเพื่อประดิษฐานรูปปั้นอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ณ ริมถนนสายสุวรรณศร ข้างสถานีตำรวจภูธร อำเภอประจันตคาม  วันที่25ธันวาคม2534เวลา11.59 น.
 
นายอนันต์ อนันตกูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย


     ขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าว อุเทน)ความสำเร็จหรือผลงานการก่อสร้างอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)บังเกิดขึ้นได้จากความคิดตามอุดมการณ์ที่กรมการปรกครองปลูกฝังจิตสำนึกไว้ว่า  "นายอำเภอคือผู้นำทางความคิด"  นายอำเภอ สมหมาย ฉัตรทอง ท่านเป็นผู้คิดสร้างจนเกิดความสำเร็จ และได้มีการร่วมใจ ร่วมแรงร่วมมือของประชาชนชาวประจันตคาม ทุกคนโดยแท้ แล้วได้ให้คนประจันตคาม ควรดำรงความร่วมใจ ร่วมแรง ร่วมมือ นี้ไว้ด้วย และรักษาประเพณีการจัดงานพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ในวันที่25ธันวาคม  ของทุกปีให้เป็นประเพณีสืบต่อไป อย่างไม่เสื่อมคลายให้เป็นสัญลักษณ์คู่อำเภอประจันตคามตลอดไป ข้าพเจ้านายกิตติศักดิ์ เข้าครอง ขอขอบพระคุณนายอำเภอ สมหมาย ฉัตรทอง นายอำเภอประจันตคามคนที่35 ที่ท่านเป็นคนคิดและริเริ่มสร้างอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)และได้ทำหนังสือให้ไว้เผยแพร่ ให้กับคนประจันตคามเพราะว่าพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เปรียบเสมือนเป็นบรรพบุรุษคนประจันตคาม ผมขอขอบพระคุณแทนคนประจันตคามทุกๆคน แล้วต่อมาได้มีนายอำเภอคนใหม่ชื่อนายวีระพันธ์ ดีอ่อนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอประจันตคาม เมื่อวันที่16 ตุลาคม 2560 ท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานพระเพณีการจัดงานพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ของพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)วันที่25ธันวาคม2560  ที่ผ่านมานับว่านายอำเภอคนใหม่นี้ท่านให้ความสำคัญเหมือนนายอำเภอทุกท่าน ต่อวีรบุรุษผู้กล้าแห่งเมืองประจันตคาม ข้าพเจ้า นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง เป็นบุตรของพ่อสวัสดิ์ เข้าครอง พ่อสวัสดิ์ เข้าครองเป็นบุตรของปู่เปลื่อง เข้าครอง ปู่เปลื่อง เข้าครองเป็นบุตรของท้าวหมื่นหรือท้าวขุนท้าวขุนเป็นบุตร ท้าวเม็น ท้าวเม็นเป็นบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)เจ้าเมืองประจันตคามคนที่2 ข้าพเจ้า นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง เป็นโหลนของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)เป็นหลาน รุ่นที่5 ของพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)และพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)กับท้าวสุโทกับพระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ) ท่านเป็นทวดอาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นคนประจันตคามและมีสายเลือดนักรบเมืองประจันตคาม  (บ้านอรัญ)  ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ให้ความสำคัญต่อบรรพบุรุษของคนเมืองประจันตคาม ข้าพเจ้าได้เขียนประวัติศาสตร์ ของบรรพบุรุษนี้ขึ้นมา เพื่อต้องการเผยแพร่ให้คนชาวบ้านชาวเมืองประจันตคามและที่อื่นๆได้รู้ว่าในอดีตของอำเภอประจันตคามเป็นเมืองเก่าที่มีเจ้าเมืองปกครองและมีเจ้าเมืองเป็นวีรบุรุษตายในสมรภูมิรบอย่างผู้กล้าหาญและท่านคือวีรบุรุษนักรบแห่งเมืองประจันตคาม ท่านเป็นผู้ก่อตั้งเมืองประจันตคาม ปี พ.ศ.2371-พ.ศ.2376 ท่านได้สิ้นชิพิตักษัย "เลือดของกูกับเลือดชาวเมืองประจันตคามได้ไหลริน ทาแผ่นดินเขมร เพื่อประกาศศักดา ให้พวกมึงรู้ว่า เลือดของพวกกูคือเลือดนักรบ แห่งเมืองประจันตคาม"                                            
            สายเลือดของเจ้าเมืองประจันตคามส่วนมากจะเป็นคนชอบช่วยเหลือสังคมการบ้านการเมืองมาโดยตลอดถ้าไม่รับราชการก็จะปิดทองหลังพระในตำบลคำโตนดและที่อื่นส่วนมากจะเป็นผู้นำท้องถิ่นเช่น ประธาน อ.ส.ม ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายก อ.บ.ต และ ส.จ

ภาพหลวงอินทวงศา(ท้าวเม็น)​เกิด2381

         หลวงอินทวงศา(ท้าวเม็น)บิดา​ท้าวหมื่นต่อมาเป็นขุนรวงปูดาดท้าวเม็นท่านเป็นบุตรของพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์)  บางคนบอกว่าท่านไม่ได้รับราชการแต่ท่านได้ทุ่มเทเพื่อสังคมมาโดยตลอดในสมัยนั้นท่านได้อยู่เบื้องหลังของการทำงานภาคสนามดูเเลช่วยเหลือชาวบ้านวางแผนจัดสรรณเส้นทางยุคสมัยยังเป็นทางเกวียนและได้หาแหล่งน้ำใว้กินใว้ใช้ในหมู่บ้านแบ่งจัดที่ดินให้เครือญาติและคนอื่นให้มีที่อยู่อาศัยและให้อยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนของเครือญาติทั้งฝ่ายผู้พี่และฝ่ายผู้น้องจนมาถึงในปัจจุบันนี้
   
ภาพปู่เปรื่อง เข้าครอง เกิด1ม.ย.2448ได้เริ่มใช้นามสกุลปี2456

          ต่อมาปู่เปรื่อง เข้าครอง เป็นบุตรท้าวหมื่น ต่อมาได้เป็นขุนรวงปูดาดก็ได้สืบเดินตามรอยของบิดา ท่านก็ได้แบ่งที่ดิน ถวายสร้างวัดอรัญญารามด้านทิศเหนือและได้จัดสรรณแบ่งขายที่ดินในราคาถูกๆให้เครือญาติของลูกผู้น้องกับลูกผู้พี่ที่ออกเรือนไม่มีที่อยู่ให้อยู่กันถึงปัจจุบันนี้ บางคนให้ด้วยปากเปล่าก็มี แล้วก็ได้พาครอบครัวลูกทั้ง7คนกับเครือญาติชาวเมืองประจันตคามไปอยู่ในเขตสระแก้วได้สร้างวัดสร้างหมู่บ้านกันขึ้นมาใหม่เช่นวัดหนองนกเขาและอีกหลายที่ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อำเภอสระแก้วก่อนปี พ.ศ.2456-2498เข้าไปอยู่กับกลุ่มเครือญาติชาวเมืองประจันตคามที่ได้ย้ายมาอยู่ก่อนครั้งยังที่ไม่ได้ใช้นามสกุลแล้วให้บุตรคนโตสืบแทนให้คอยดูแลเครือญาติในเขตบ้านเกิดบ้านหนองคิมในตำบลคำโตนด แล้วต่อมา
  
                                    
ภาพพ่อสวัสดิ์ เข้าครอง เกิด2475เสีย2556

          พ่อสวัสดิ์ เข้าครอง เป็นบุตรคนโต ได้สืบและได้วิชาอาคมและได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เอียวัดบ้านด่านตั้งแต่เด็กท่านได้วิชา108 และเป็นสายปราบแทนหลวงปู่เอีย คอยดูแลคนในบ้านเกิดคือรักษาคนที่ถูกของถูกผีเข้าถูกคุณศัยถูกยาสั่งคนคลอดลูกไม่ออกต้องกินน้ำมนต์ถึงคลอดออกแก้และกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เข้าตัวดูเริกขึ้นบ้านใหม่ดูเริกทุกอย่าง ดูของหายว่าหายรืมใว้ตรงใหนใครเป็นคนโขมยและวัวควายหาย คนป่วยที่ต้องรักษาต้องไปหายาสมุนไพรในป่าในเขาแล้วเอามาให้คนที่ป่วยมียาต้มยาฝนกินและรักษาคนด้วยน้ำมนต์และสมุนไพรโดยไม่มีค่าไช้จ่ายอะไรเพราะครูบาอาจารย์บอกไว้ห้ามเรียกร้องเอาค่าตอบแทนเพราะวิชานี้ใครได้ไปจะต้องมีหน้าที่ช่วยเหลือคนป่วยให้หายเท่านั้นและต้องมีใจเป็นผู้ให้ถึงจะได้ครอบครองวิชานี้ใว้ช่วยเหลือคนในสมัยนั้นยังไม่มีหมอ อนามัย ถนนทางก็ยังไม่ดีรถก็ยังไม่มีสมัยนั้นจะไปใหนส่วนมากต้องเดินออกไปหาถนนใหญ่ ในปีพ.ศ.2522 ข้าพเจ้าจำความใด้ข้าพเจ้าอายุ8ปีเกิดมาก็เห็นมีชาวบ้านมาที่บ้านไม่ขาดเช้าและเย็นถ้าเปรียบเสมือนทุกวันนี้ก็คือคลีนิคร้านยา ขนาดเวลาทำนาพ่อสวัสดิ์ เข้าครองยังไม่ค่อยได้ทำนาเลยจนทำให้พี่ๆไม่ค่อยพอใจกับคนที่มารักษาบางคนต้องหุงข้าวหาอาหารให้กินเพราะมาไกลไม่มีเงิน บ้านหลังเก่าคนมารักษาอาบน้ำมนต์ จนพื้นบ้านผุ ขนาดพื้นบ้านไม้สมัยก่อนหนามาก เวลากลางคืนก็มีคนมาเรียก ให้ไปช่วยแต่ต้องเดินไปรักษาพ่อสวัสดิ์ เข้าครอง บอกบางที่ไปกลับเกือบ100กิโลเมตรเลยนะ ครั้งก่อนไปถึงเขาขาดเดินรัดป่าเขาไป และอีกครั้งไปถึงเขาตะแบกไม่มีรถต้องเดินสมัยนั้นลำบากมากมีแต่ป่าแต่พ่อสวัสดิ์ เข้าครอง บอกว่าพอได้ช่วยคนแล้วก็หายเหนื่อย ในสมัยก่อนคนที่เกิดในปีพ.ศ.2500ขึ้นมาคนแถวตำบลคำโตนดจะได้การรักษาแบบโบราณกับพ่อสวัสดิ์ เข้าครอง


ส่วนมาก เพราะหมออนามัยยังเข้าไม่ถึงเหมือนทุกวันนี้ จนสุดทัายพ่อสวัสดิ์ เข้าครอง ได้ถวายที่ดินให้สร้างอนามัยบ้านหนองคิม

ภาพอนามัยเก่า
พ่อสวัสดิ์ และแม่สำเภา เข้าครอง ถวายที่ดินเพื่อสร้างอนามัยบ้านหนอง คิม เป็นอนามัยแรกของ ต.คำโตนด

แม่สำเภา เข้าครอง ภาพในปัจจุบัน พ.ศ.2566

ภาพถ่ายบ่อน้ำเก่าปีพ.ศ.2522 เด็กใส่เสื้อสีขาว ชื่อกิตติศักดิ์ เข้าครอง อายุ9ขวบ 
ภาพบ่อน้ำหนัาอนามัยเก่า

         ที่ข้างบ้านพ่อสวัสดิ์ เข้าครอง ในสมัยนั้นได้ขุดบ่อน้ำให้คนในหมู่บ้านได้กินได้ใช้ แล้วต่อมาได้ให้ที่ดินตั้งถังน้ำตั้งประปาหมูบ้าน และให้ที่ดินหน้าอนามัยด้านนอกติดถนนเป็นที่ออกกำลังกายและทำกิจกรรมส่วนรวมของหมู่บ้าน ฯลฯ อนามัยบ้านหนองคิมในปัจจุบัน





            "คำเขียนบอกเล่าบอกต่อกันมา 
จากบรรพบุรุษ ถึงคนเฒ่าคนแก่จนถึงปัจจุบัน"        พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) ต้นตระกูลเข้าครองของบ้านอรัญ ท้าวเม็น เป็นบิดาท้าวหมื่นต่อมาใด้เป็นขุนท้าวเม็น เป็นบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) ได้รับมรดกที่ดินสืบทอดจากบิดา เขตบ้านอรัญ ทั้งหมดมีทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศตะวันออกของบ้านอรัญ แล้วต่อมาได้แบ่งที่ดินให้น้องสาวกับพี่สาวและพี่ชายเครือญาติที่ออกเรือนไปใช้นามสกุลอื่น ตั้งบ้านเรือนในเขตบ้านอรัญและที่อื่น แล้วต่อมาปี พ.ศ.2456 ทางอำเภอออกประกาศให้ทุกครัวเรือนให้มาเอานามสกุลที่อำเภอ ทางอำเภอมีนามสกุลตัวอย่างให้ใว้ดู 6,432 นามสกุล หรือให้ตั้งนามสกุลกันเอาเองก็ได้ถ้าเป็นสายเลือดเดียวกัน หรือให้เจ้าหน้าที่ตั้งให้ แต่ในสมัยนั้นชาวบ้านชาวเมืองยังเขียนอ่านกันยังไม่ได้ แต่ก็ยังมีคนอ่านเขียนได้แต่มีส่วนน้อยท้าวหมื่น ได้ใช้นามสกุล เข้าครอง เพราะบิดาได้ประกาศศักดาในสนามรบว่าพวกกูคือผู้ชัยชนะกูจะเอาคนเมืองประจันตคามเข้าครองเขมรให้พวกญวนได้จดจำกันเอาใว้พวกกูคือผู้ชัยชนะที่รบขับไล่ข้าศึกญวนที่เขมรแล้วต่อมาลูกผู้น้องกับลูกผู้พี่ที่เป็นผู้หญิงได้ออกเรือนถึงได้มีนามสกุลอื่นเข้ามาในบ้านอรัญ หนองคิม ส่วนผู้ชายที่รับราชการ บางคนก็เอานามสกุลที่หลวงตั้งมาให้ในสมัยนั้น ชาวบ้านชาวเมืองเวลาไปเอานามสกุล ก็ไปยาก บ.มีรถ บ.มีถนนเหมือนทุกวันนี้ ตัองยางรัดป่านาไป หรือยาง ตามทางเกวียนไป(ยางแปลว่าเดิน) พอไปถึงอำเภอบางคนก็มาเป็นกลุ่มครัวเรือนบางคนก็ต่างคนต่างมา คนเฒ่าคนแก่เล่าบอกต่อกันมาว่าไปอำเภอไปเอานามสกุลพอไปถึงส่วนมากเจ้าหน้าที่จะถามว่าจะเอานามสกุลอะไร ถ้าคนใหนคิดตั้งนามสกุลมาที่ไม่ตรงกับคนอื่นก็จะได้นามสกุลที่คิดตั้งมา คนใหนที่ไม่ได้ตั้งมาเจ้าหน้าที่จะถามว่าอยู่บ้านใหน คนที่มาเอานามสกุลตอบว่าอยู่บ้านหนองเอี่ยน เจ้าหน้าที่ก็ให้นามสกุลหนองเอี่ยน ส่วนอีกคนก็ไม่ได้คิดตั้งมาเจ้าหน้าที่ถาม ว่าพื้นเพ บิดาเป็นคนมาจากใหน คนมาเอานามสกุล บอกว่าอยู่เวียงจันทน์ ก็ได้นามสกุล เวียงจันทน์ อีกคนบอกว่าบ้านอยู่เชิงเขาก็ได้นามสกุล เชิงเขา และอีกคนบอกว่าบิดาเคยเป็นทหารเข้าล้อมตีเมืองเวียงจันทน์ ก็ได้นามสกุล ล้อมเวียงและนามสกุลอาษาศึก ส่วนอีกคนเห็นเขาเอานามสกุลผลาหารก็เอากับเขา เขาบอกเจ้าหน้าที่ว่าอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ก็มี โดยไม่ใช่ญาติกันเลย บางคนก็ได้เลือกนามสกุลที่หลวงตั้งมา เอานามสกุล แม่นปืน ส่วนคนที่เป็นญาติที่รับราชการก็เอานามสกุลที่หลวงตั้งมาให้ บางคนก็เอานามสกุลที่มีเดชและมีวงศ์นำหน้าหรือหลัง และมีอีกหลายนามสกุลทีได้ตั้งนามสกุลใช้ในหมู่บ้าน หนองคิม(บ้านอรัญเก่า)ที่เป็นบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)กับบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)และท้าวสุโท บุตรของทั้ง3ท่านนี้ ส่วนมากจะใช้นามสกุลไม่เหมือนกันเพราะมีนัยทางวงค์สกุลของครอบครัว เช่นบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)ที่จำได้บุตรที่ใช้นามสกุลมี เข้าครอง อินทร์จันดา ชัยจำ จันทาโท ระวังป่าและโพธิ์ลังกาอีกหลายนามสกุล  คนเฒ่าคนแก่บอกว่าคนเราถ้าไม่มีนามสกุลจะจำญาติพี่น้องไม่ได้ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่3แล้วจะจำกันได้แต่นามสกุลของผู้ชาย ผู้หญิงได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นของสามีแล้วจะจำอยาก นามสกุลนี้เป็นเครือญาติของท้าวเม็น บิดาท้าวหมื่นท้าวหมื่นต่อมาเป็นขุนใด้ใช้นามสกุลเข้าครองแล้วเล่าบอกต่อว่าปีพ.ศ.2392 ได้เกิดโรคอหิวาตกโรคได้ระบาดหนักโดยมีจุดเริ่มต้นที่ปีนัง แล้วได้แพร่ระบาดมาจนถึงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ สยาม รุนแรงจนเรียกได้ว่ามีผู้เสียชีวิตถึง15,000-20,000คนภายในเวลา1เดือนจนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3ได้ให้มีเหล่ามิชชันนารีและหมอนำการรักษาแบบตะวันตกเข้ามายังประเทศสยาม แล้วต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุนจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำสูตรยาวิสัมพญาใหญ่และยาน้ำการบูรหยอดรักษาผู้ป่วย ทำให้การแพร่ระบาดลดลง                             แล้วต่อมาในปีพ.ศ.2392 เมืองประจันตคามก็เกิดอุบัตขึ้นได้เกิดโรคอหิวาตกโรคท้องร่วงมีผู้คนล้มตายกันมาก แล้วต่อมาชาวบ้านชาวเมืองประจันตคาม และชาวบ้านอรัญกับชาวบ้านอื่นได้อพยพย้ายออกจากหมู่บ้านเดิมไปตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่สร้างวัดขึ้นใหม่ ในยุคสมัยของเจ้าเมืองประจันตคามคนที่2 เช่นชาวบ้านวัดอรัญได้ย้ายไปสร้างหมู่บ้านใหม่สร้างวัดใหม่ชื่อวัดหนองคิม ย้ายไปอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดอรัญเก่าแล้วตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ชี่อบ้านหนองคิม บ้านหนองไฮ บ้านโนนมี่ พระที่บวชจำวัดที่วัดหนองคิมที่เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้นส่วนมากจะเป็นลูกหลานเหลนและเครือญาติของเจ้าเมืองประจันตคาม แล้วต่อมาปีพ.ศ2460-2473 ได้มีพระอาจารย์วัดหนองคิม ชื่อพระอาจารย์เปลื่อง ท่านบวชแต่เด็กท่านมีวิชาดี อยู่ในสายอยู่ยงคงกระพันชาตรีสายเหนียว คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าว่า อาจารย์เปลื่องท่านมีลูกศิษย์มากใครๆก็อยากใด้ให้อาจารย์เปลื่อง เป็นอาจารย์ คนเฒ่าคนแก่ คนที่เล่าให้ฟังได้เล่าที่บ้านของท่านอยู่บ้านเนินสูง ปีพ.ศ.2560ท่านมีชื่อว่า นายมี ตรงฉิน อายุท่านก็มากแล้วท่านเล่าให้ฟังว่าช่วงท่านเป็นเด็กหนุ่มน้อย ท่านเป็นคนหนึ่งที่ได้อาบน้ำยาอยู่ยงคงกระพันชาตรีกับอาจารย์เปลื่อง ที่วัดหนองคิมและท่านก็เป็นญาติผู้น้องของอาจารย์เปลื่อง แล้วต่อมาอาจารย์เปลื่องได้สึกออกมาจากเป็นพระ นายเปลื่อง เข้าครอง เป็นบุตร ของท้าวหมื่นต่อมาเป็นขุนเป็นบุตรของหลวงอินทวงศา(ท้าวเม็น)​บิดาของท้าวเม็นคือพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) เจ้าเมืองประจันตคามคนที่2 ต่อมาคนเรียกท้าวหมื่นหรือท้าวขุนท่านเป็นคนพูดเสียงดังแล้วต่อมาวัดหนองคิม ที่อยู่ข้างหนองน้ำที่กลุ่มตาคิมได้ช่วยกันขุดเอาใว้กินใว้ใช้ ชาวบ้านจึงได้เรียกวัดหนองคิมและ บ้านหนองคิม แล้วต่อมาวัดหนองคิมได้ย้ายกลับมาสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณวัดอรัญเก่า นายเปลื่อง เข้าครอง เป็นบุตรของท้าวหมื่นได้ยกถวายที่ดินสร้างวัดขึ้นมาใหม่ เพราะในเขตนี้เป็นที่ดินของหลวงอินทวงศา(ท้าวเม็น)​ผู้เป็นบิดาท้าวหมื่นต่อมาเป็นขุนแล้วได้ให้บุตรเป็นผู้สืบต่อ แล้วชาวบ้านในเครือญาติได้ร่วมกันสร้างวัดอรัญขึ้นมาใหม่สร้างอุโบสถขึ้นในปีพ.ศ.2512-2516 ในสมัยพระอาจารย์ บุญยัง ท่านเป็นญาติของนายเปลื่อง เข้าครอง ในปัจจุบันนี้วัดได้ใช้ชื่อวัดอรัญญาราม ตั้งอยู่หมู่ที่6 ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
          
               แล้วต่อมาบ้านอรัญ หนองคิม ประมาณปี พ.ศ.2470 เริ่มมีนามสกุลใหม่เข้ามา เช่นนามสกุล อัตตาโว เป็นนามสกุล ของลูกเขยที่มาได้กับลูกสาวคนบ้านหนอง คิม เช่นผู้ใหญ่หอมมาได้กับลูกสาวปู่อ่อนศรี เข้าครอง บุตรท้าวเม๋น เข้าครอง นามสกุลเทียนเพลิงเป็นญาติของปู่เปลื่อง เข้าครอง แล้วต่อมานามสกุลมุ้งบังก็เป็นลูกเขยบ้านหนองคิมมาได้กับญาติลูกผู้น้องของท้าวหมื่นเช่นพ่อตาหวันมาได้กับยายพวง แล้วต่อมาก็มีนามสกุลพอดี ญาติผู้น้องกับญาติผู้น้องได้กัน นามสกุลผลาหารเป็นลูกผู้น้องมาได้กับลูกสาวของลูกผู้พี่นามสกุลนามสกุลเจียมจักรเป็นลูกผู้น้องมาได้กับลูกผู้พี่ฝ่ายหญิง แล้วต่อมาฝ่ายญาติผู้หญิงทั้งลูกผู้พี่กับลูกผู้น้องมาออกเรือนถึงได้มีนามสกุลขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน 

         ในสมัยที่ยังไม่ได้เริ่มใช้นามสกุลและได้เริ่มใช้นามสกุลแต่ก่อนในเขตตำบลคำโตนด คนส่วนมากที่อยู่ในตำบลนี้ จะเป็นลูกหลานเหลน ของพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)พระภักดีชะ(ท้าวคำ)และท้าวสุโท เป็นบิดาพระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ)   
         
             ตัวอย่าง   ผังรายชื่อวงศ์สกุลฝ่ายพระภักดีเดชะ  (ท้าวอินทร์) เช่น ท้าวสร้อย เพียเมืองแสน (เพีย) คือตำแหน่งขุนนางสยามแคว้นลานนา และ ล้านช้าง เทียบเท่า พระยา หนังสืออ้างอิง : พจนานุกรมไทย ฉบับสมบูรณ์2524 ท้าวสร้อย เพียเมืองแสน  อยู่ที่ประเทศลาว ท้าวสร้อย เพียเมืองแสน มีบุตรหญิงเป็นคนโต ชื่อนางสีดา บุตรชายคนเล็ก ชื่อพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) นางสีดา บุตรคนโตของท้าวสร้อย เพียเมืองแสน มีบุตรชาย3คนที่จำได้และบุตรชาย2คนกับหลาน1คนใด้เป็นเจ้าเมืองตะวันออกที่ได้ให้สืบเป็นเจ้าเมืองประจันตคาม  พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) เป็นบุตรคนที่1ของนางสีดา พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)เป็นบุตรคนที่2ของนางสีดา ท้าวสุโทเป็นบุตรคนที่ 3 ของนางสีดา พระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ) เป็นบุตรท้าวสุโท                                     พระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) มีบุตร 15 คน  บุตรชาย 9 คน บุตรหญิง 6 คน   
  1.  ท้าวเสน เป็นหลวงชัยสุนทร(แล้วต่อมาได้เลื่อนเป็นหลวงศักดาสำแดงยกกระบัตร)  มีบุตรที่จำได้ 7คน ชาย 4คน หญิง 3คน  1) นาย คำพา โพธิ์ลังกา ออกเรือนกับนางคำมี อาภาพร มีบุตร6คน ชาย1คน หญิง5คน  (1) นางบุญมา โพธิ์ลังกา (2) นางดำ โพธิ์ลังกา (3) นางคำ โพธิ์ลังกา (4)นางเลื่อน โพธิ์ลังกา (5)นางเหลื่อม โพธิ์ลังกา (6)นายอุดม โพธิ์ลังกา      นาง บุญมา โพธิ์ลังกา ออกเรือนกับ นายทองดี ศรีปราชญ์ มีบุตร8คน ชาย3คน หญิง5คน (1)นายประเสริฐ ศรีปราชญ์  (2)นางประสาท ศรีปราชญ์ (3)นางน้อย ศรีปราชญ์           (4)นางประภาส ศรีปราชญ์  (5)นายสุโทน ศรีปราชญ์  ปัจจุบันเป็นพระครูมงคลธรรมโสภณ (หลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงปู่โทน)​วัดแจ้ง(เมืองเก่า)​ ประจันตคาม
    ภาพในปัจจุบันปีพ.ศ.2566  
                      (6)นายสุพล ศรีปราชญ์ (7)นางผิวพร ศรีปราชญ์ (8)น.ส.คำพันธุ์ ศรีปราชญ์      2) นาย สา โพธิ์ลังกา  3) นาย บัวลา โพธิ์ลังกา  4) นาย เล่ง โพธิ์ลังกา 5) นาง ถิน โพธิ์ลังกา   6) นางทองอินทร์ โพธิ์ลังกา                          7) นางบิน โพธิ์ลังกา  
  2. ท้าวคำ เป็นหลวงขัตติยะ 
  3. ท้าวแสนชัย เป็นหลวงชัยสุนทร 
  4. ท้าวเคนเป็นหลวงอินทรวงศา  เป็นปู่ของหลวงพ่อเส็ง พุทธปาลิโต วัดศรีประจันตคาม ใช้นามสกุล ระวังป่า


  5. ท้าวบุตร เป็นหลวงชัยสุนทร 
  6. ท้าวเถื่อนเป็นหลวงพรหมาสุภา 
  7. ท้าวสิงห์
  8. ท้าวล่าไม่ปรากฎว่ารับบรรดาศักดิ์อะไร
  9. ท้าวเม็น หลวงอินทวงศาบางคนบอกว่าไม้ได้รับตำแหน่งอะไรเพราะเป็นลูกรักของบิดาไม่ให้รับราชการเพราะว่าได้เกิดในค่ายรบที่รบกับญวนที่เขมรแล้วต่อมาได้ชัยชนะเข้าครองเขมร มีความชอบส่วนตัวของบิดาแต่ให้อยู่เบื้องหลังในการทำงานของบ้านเมืองประจันตคาม มาโดยตลอด แล้วต่อมาหลังจากกลับมาจากรบกับญวน ท้าวแสนชัยตาย 10.นางป้อง ออกเรือนกับขุนจำนง 11.นางเบาะ ออกเรือนกับขุนกางคดี 12.นางที ออกเรือนกับหลวงคลัง(ท้าวภู บุตรของพระภักดีเดชะท้าวคำ)  13.นางสอน ออกเรือนกับขุนชัยสงคราม(หมุ่ง) 14.นางจันทา ออกเรือนกับขุนสารเลข(จันดี) 15.นางทุม ออกเรือนกับหลวงสง่านคร(ท้าวขำบุตรของพระภักดีเดชะท้าวสุวรรณ)     
       
                  รายชื่อลูกหลานเหลนโหลนหล่อนของพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์) ที่เกิดกับบุตรชายชื่อท้าวเม็นหลวงอินทวงศาท้าวเม็นหลวงอินทวงศามีบุตร3คน หญิง2คนชาย1คน1.นางดำ 2.นางด้วง3.ท้าวหมื่นต่อมาเป็นขุนรวงปูดาด ที่จำได้ มีบุตร 8 คน บุตรชาย 5 คนบุตรผู้หญิง 3 คน
       1.นายบัว เข้าครอง ออกเรือนกับนางแพง มีบุตร7คน ชาย6คนหญิง1คนบ้านอยู่บ้านนาล้อม ตำบลหนองบอน จังหวัดสระแก้ว 1) นายแสวง เข้าครอง ตายแต่น้อย 2) นายบุญจันทร์ เข้าครอง ตายแต่น้อย 3)นางบัวผัน เข้าครอง ตายแต่น้อย4) นายบุญทัน เข้าครอง มีบุตร5คน 5)นายวัน เข้าครองมีบุตร6คนบ้านนาล้อม 6)นายชุ่ม เข้าครองมีบุตร4คน 7)นายเย็น เข้าครอง ออกเรือนกับ นางคำกอง อาทร มีบุตรหญิง 4คน (1)​ น.ส วันเพ็ญ เข้าครอง  (2) น.ส พรมมา เข้าครอง   (3) น.ส ปทุมวดี เข้าครอง  (4) น.ส สงกรานต์ เข้าครอง
       2 . ปู่อ่อนศรี เข้าครอง อยู่บ้านหนองไฮ            (หนองคิม) มีบุตร 7คน  
              1) นางบุดดา เข้าครอง อยู่สัมพันตา
              2) นางสา เข้าครอง (อัดตาโว) อยู่บ้านหนองไฮหนองคิม
              3) นางกันหา เข้าครอง
              4) นางมา เข้าครอง(โพธิ์ลังกา) อยู่บ้านเนินสูง
              5) นายรุน เข้าครอง อยู่บ้านเนินแดง
              6) นายคูณ เข้าครอง อยู่บ้านหนองไทร ต.ศาลาลำดวน จ.สระแก้ว                 
              7) นางกลม เข้าครอง(โพนน้อย) อยู่บ้านอนามัย   หนองคิม
         3. นางจันทร์ดี​ เข้าครอง​(อาธนู)​มีบุตร4คน​ 1)นายสม อาธนู​                    2)นายกลม​ อาธนู​                                3)นางพรม​ อาธนู​                                  4)นางบุญยัง​ อินทร์จันดา​                        
4.​ นางทอง เข้าครอง(อินทร์จันดา)ออกเรือนกับลูกผู้พี่ มีบุตร 4 คนที่จำได้                    
          1) ครูบุญธรรม อินทร์จันดา
          2) นางดวง อินทร์จันดา
          3) นางหนู  อินทร์จันดา ออกเรือนใช้นามสกุล สีสังข์ อยู่บ้านวัดแก่งไทร จ.สระแก้ว
           4) นายเติม  อินทร์จันดา 
    5 .  นายเปรื่องเข้าครอง เกิดบ้านหนองคิมเนินมี่ ภรรยาชื่อนางถินแสะสาร นางถินแสะสารเป็นบุตร นายเจ๊กฮุย แซ่ตั้ง เป็นคนจีนพร้อมเครือญาติที่มาจากเมืองจีนเป็นชาวจีนปัจจุบันเครือญาติอาศัยอยู่แถวตลาดประจันตคามและในตลาดจังหวัดสระแก้วแล้วต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น แสะสาร ส่วนญาติเปลี่ยนนามสกุลเป็นตั้งโพธิ์ทองนายเจ๊กฮุยแซ่ตั้งมีพี่น้องหลายคนที่มาอยู่เมืองสยามน้องชายชื่อเจ๊กฮ้าวแสะสาร นายเจ๊กฮุย แซ่ตั้ง หรือแสะสาร มีบุตร4คน ชาย2 คน หญิง2คน 1) นายบิน แสะสาร 2)นางถิน เข้าครอง 3)นางกลม ตรงฉิน 4)นายบุ่น แสะสาร นายเปรื่อง เข้าครองออกเรือนกับนางถิน แซ่ตั้ง หรือแสะสาร มีบุตร 8 คน (และมีบุตรบุญธรรม3คนท่านรักเหมือนบุตรแท้ๆของท่าน ได้ตกทอดมาตั้งแต่บิดาของท่านได้ให้ใช้นามสกุลอื่นไม่เหมือนกัน บุตรแท้นาย เปรื่อง เข้าครอง กับนางถิน แซ่ตั้งหรือแสะสารต่อมาใช้นามสกุล เข้าครอง กับสามี บุตรของนายเปรื่อง กับนางถิน เข้าครองมีบุตร8คนชาย6คนหญิง2คน คนแรกคือ
               1) นายสวัสดิ์ เข้าครอง ภรรยาชื่อนางสำเภาเข้าครอง นางสำเภาเป็นบุตร นายคำพอง ก้องกังวาลย์ กับนางจำปี หนักแน่น นายคำพอง ก้องกังวาลย์ ออกเรือนกับนางจำปี แล้วได้เปลี่ยนนามสกุนก้องกังวาลย์มาใช้กับนางจำปีเป็นหนักแน่น นายคำพองเป็นบุตร ท้าวเล่ กับนางพรรณ นางพรรณเป็นบุตรของพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)เจ้าเมืองประจันตคามคนที่3​นางพรรณบ้านอยู่บ้านหนองสองห้อง  ท้าวเล่ ออกเรือนกับนางพรรณ มีบุตร8คนชาย6คน หญิง2คน 1)นายคำพอง ก้องกังวาลย์ 2)นายหลุ่น ก้องกังวาลย์ 3)นายชม ก้องกังวาลย์ 4)นายสมบุญ ก้องกังวาลย์ 5)นายซุ่น ก้องกังวาลย์ 6)​นางสมศรี ก้องกังวาลย์ 7)นางทองมี ก้องกังวาลย์ 8)นายท้าว หนักแน่น นายคำพองออกเรือนกับ นางจำปี มีบุตร8คน ชาย3คน ผู้หญิง5คน 1.นางทองดี ก้องกังวาลย์ (บ้านโคกอีหลง)2.นางทองศรี ก้องกังวาลย์  3.นางคำมา ก้องกังวาลย์(หนองนกเขา)4.นายบุญชู ก้องกังวาลย์(บ้านนางาม)5.นายน้อย ก้องกังวาลย์(หนองนกเขา)6.นางคำนาง คำงอก (บ้านหนองคุ้ม)7.นางสำเภา เข้าครอง(บ้านข้างอนามัยหนองคิม)8.นายซื่น ก้องกังวาลย์(หนองนกเขา) นางพรรณกับนางแพงเป็นบุตร พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ) เจ้าเมืองประจันตคามคนที่3  (1) นายสวัสดิ์ เข้าครอง ออกเรือนกับนางสำเภา เข้าครอง มีบุตร 9 คน บุตรชาย4คน  บุตรหญิง5คน บ้านอยู่ข้างอนามัยหนองคิม หมู่6 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
                      (1) นางสมบัติ แก้วงาม
                      (2) นางหอมหวลธรรมปละ
                      (3) นายวิรัช เข้าครอง
                      (4) นางสมหวัง เข้าครอง
                      (5) นายประสาร เข้าครอง
                      (6) นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง มีภรรยาชื่อนางสุภาภรณ์ ปัญญาทวีกิจ นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง มีบุตรใช้นามสกุลเข้าครอง3คน                1) นางสาวสุภัชญา เข้าครอง                2) ด.ญ ชนิษฐาเข้าครอง
 3) ด.ชไกรวิชญ์ เข้าครอง      
                       (7) นายสำรวย เข้าครอง
                       (8) นางพวงพเยาว์ พนาเวช
                       (9) นางสาวดารุณี เข้าครอง  
               2) นายสัมผัส เข้าครอง บ้านอยู่หนองนกเขาสระแก้ว 
               3) นางทองเขียน เข้าครอง (กาญจน์วิจิตร) สระแก้ว
               4) นายบัวเรียน เข้าครองบ้านอยู่สระแก้ว
               5) นายบุญสัม เข้าครองบ้านอยู่สระแก้ว
               6) นายประสิทธิ์ เข้าครองบ้านอยู่สระแก้ว
               7) นายวิชิต เข้าครองบ้านอยู่สระแก้ว 
               8) นางสมจิตร เข้าครอง ออกเรือนกับญาติผู้พี่ใช้นามสกุลอินทร์จันดา บ้านอยู่หนองนกเขา สระแก้ว   
          6 .นางเมือง เข้าครอง(อินทร์จันดา)มีบุตร2คนที่จำได้                                                                                   1)นายเลียง​ อินทร์จันดา​ (ลูกแท้)​                                          2)นายเหลิม เสาะด้น​ (ลูกเลี้ยง)​
          7 . นายแน่น เข้าครอง อยู่บ้านวังอีหงษ์หนองคุ้ม มีบุตร 11 คน
               1) นายอู๋ เข้าครอง
               2) นางสำลี เข้าครอง
               3) นางสีดา เข้าครอง
               4) นายสง่า เข้าครอง
               5) นายถนอม เข้าครอง
               6) น.ส ลม่อม เข้าครอง
               7) น.ส ลมัย เข้าครอง
               8) นางมะลัย เข้าครอง
               9) นายจำปี เข้าครอง
              10) นายองอาจ เข้าครอง
              11) นางบุญทรัพย์ เข้าครอง   

          8. นายบุญ เข้าครอง บ้านอยู่หนองเอี่ยนหนองคุ้ม มีบุตร 10 คนที่จำได้ 1)นายปาน เข้าครอง                            2) นางปุ่น เข้าครอง
              3 ) นางเขียว เข้าครอง
              4 ) นางเหลียว เข้าครอง
              5 ) นายเพียว เข้าครอง
              6 ) นายพาด เข้าครอง
              7 ) นางปราณี เข้าครอง
              8 ) นายสมชัย เข้าครอง
              9 ) นายแดง เข้าครอง
              10 ) นายซุ่ม เข้าครอง 
ตระกูลชัยจำ ไชยจำ เป็นตระกูลญาติของนางแพงกับนางพรรณ เชื้อสายของพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)​ ท้าวหนา มีพี่น้อง 8คน ชาย5คน หญิง3คน 1.ท้าวภา  2.นางวันทา 3.นางซา นางซามีบุตร7คน ชาย5คน หญิง2คน 1)นางดวง 2)นายดวน 3)นาย​พอง 4)นายอ่วม 5)นายสอน 6)นายส่วน 7)นางสวน นายส่วนมีบุตร10คน ชาย5คน หญิง5คน 1)นายทองดา         2)นางทองดี 3) นางอำภา 4)นางจำปา 5)นายคำหล้า 6)นายจรูณ 7)นายสกุล 8)นางนวน 9)นางน้อย 10)นายท้าว 4.ท้าวหนา 5.ท้าวมา 6. นางผา 7.ท้าวแสง 8.ท้าวเล่ ท้าวหนาออกเรือนกับนางแป้ม มีบุตร6คน ชาย4คน หญิง2คน 1)นายยอด ชัยจำ 2)นายลำ ชัยจำ 3)นายคำหล้า ชัยจำ 4)นางบาง ชัยจำ 5)นางเกตุ ชัยจำ 6)นายเนตร ชัยจำ                  นายเนตร ชัยจำ ออกเรือนกับนางแย้ม หนองเอี่ยน มีบุตร10คน ชาย7 หญิง3คน 1.นายจรัญ ชัยจำ 2.นายจรูญ ชัยจำ 3.นายคำมูล ชัยจำ 4.นางทองมา ชัยจำ 5.นายอำนาจ ชัยจำ 6.นางสังวาส ชัยจำ 7.นางสะอาด ชัยจำ 8.นายประสาท ชัยจำ 9.นายอภิศักดิ์ ชัยจำ 10.นายอภิเศรษฐ์ ชัยจำ 
           ส่วนที่เป็นหลานเป็นเหลนเป็นโหลนเป็นหล่อนที่ไม่ได้เขียนลงและผิดพาดตกหล่นก็ขอโทษด้วยครับ


มีดเก่าของเก่าที่เก็บใว้

                             และนามสกุลที่เป็นเครือญาติในตำบลคำโตนดก่อนย้ายไปอยู่ที่อื่น ฝ่ายลูกผู้พี่กับลูกผู้น้องทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชายที่เป็นญาติกับ ท้าวเหม็น ท้าวหมื่น หรือท้าวขุน ปู่เปรื่อง เข้าครอง นายสวัสดิ์ เข้าครอง และนางสำเภาเข้าครอง  ที่จำได้มี เข้าครอง อินจันดา ชัยจำ จันทาโท แม่นปืน พอดี เดชสุภา ผลาหาร คำดำ คำงอก  ทูคำมี ก้องกังวาลย์ เจียมจักร เทียมคู่  เทียนเพลิง ชัยยะ อัดตราโว วายลม โพธิ์ลังกา สง่าเมือง อาศัยราษฎร์ กงแก้ว พนาเวช เชิงเขา ล้อมเวียง เวียงจันทน์ อาษาศึก อาทนู หนักแน่น แสะสาร ผาดง ตรงฉิน บัวดอก เชิงการ คล่องใจ แปลกใจ เสาะด้น แปลงกาย ศรีเคน ขวัญข้าว มุ้งบัง ศรีปราชย์  ล่องคลอง ดงแดน บุญสิทธิ์ ขยันคิด ระวังป่า ปเมทะโก พรมมนี กัญมณี หินโทน สิทธิมงคล สมวาที เทียบเศียร อาภาพร อาทร ทูคำมี  ประกอบผล        สีสังข์ มาลากุล ศรีหาราช ที่จำได้และมีอีกหลายนามสกุลที่ไปรบขับไล่ญวนที่เขมร ได้ชัยชนะ แล้วได้แบ่งครัวชาวเมืองประจันตคามใว้ที่เขมร แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ในเขตรอำเภออรัญประเทศ กับอำเภอสระแก้ว อยู่ในหลายตำบลของอำเภออรัญประเทศ กับอำเภอสระแก้ว แล้วตั้งหมู่บ้านอยู่กันเป็นกลุ่มของลาวเวียงที่มาจากเมืองประจันตคาม จนมีคนพูดกันว่า เมืองประจันตคามน้อย ที่อำเภอสระแก้ว แล้วต่อมาได้ใช้นามสกุลก็ได้นามสกุลไม่เหมือนกันมีอีกมาก และที่ย้ายไปอยู่ใหม่ก็มีอีกมาก อยู่ที่จังหวัดสระแก้วและที่อี่น


ภาพหลวงปู๋โทน ผู่ใหญ่ ชาวบ้านทหารร่วมกันเทพื้นปูนถนน


นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง ร่วมสร้างถนน








ภาพปัจจุบันปี พ.ศ.2566 
ท่านพระครูมงคลธรรมโสภณ (หลวงปู่ใหญ่ หรือ หลวงปู่โทน)​ ท่านได้สร้างสวนป่า ธนมงคลธรรม คีรีเขต และ สร้างถนนเพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองได้ใช้นำพืชผลเกษตรออกมาส่งขายไม่เสียหาย






ภาพปัจุบัน วันที่10มีนาคม พ.ศ.2566                     คณะศิษย์หลวงปู่ใหญ่ พร้อมใจกันนำเครื่องบรรนาการ โภชนาหาร และสัญลักษณ์"ช้างทองคำ' ถวายแด่พลังช้างสารมหามงคลทั่วจักรวาล ณ ที่บรรจุศพพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​ วัดแจ้ง(เมืองเก่า)​


งานประจำปีวันที่25เดือนธันวาคม ของทุกปี งานบวงสรวงรำลึกพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​ เจ้าเมืองประจันตคามคนที่1ที่อนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​ชาวบ้านข้าราชการพ่อค้าเด็กนักเรียนร่วมใจจัดงาน แต่งกายชุดลาวเวียงจันทน์ออกมาร่วมงานออกร้านค้าและรำถวายจำนวนห้าร้อยคนของทุกปี พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​ว่าราชการเมืองประจันตคามปีพ.ศ2371-2376 ว่าราชการได้6ปีได้สิ้นชีพิตักษัย ในสนามรบ "เยี่ยงวีรบุรุษไทยในปัจจุบัน" "เลือดกูไหลรินทาแผ่นดินเขมรเพื่อประกาศศักดาให้พวกมึงรู้ว่ากูคือนักรบแห่งเมืองประจันตคาม" จัดงานขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศสยามที่พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศโปรดเกล้าให้มาอยู่มีลาวเวียงจันทน์ ลาวหลวงพระบาง ลาวพวน ลาวญวณ ลาวทรงดำ ฯลฯ ได้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดินที่มีชื่อว่า" สยาม" และเจ้าของแผ่นดินคือพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทุกพระองค์และองค์ปัจจุบัน ที่พวกเรามีที่ดินทำมาหากินและมีที่อยู่อาศัยอยู่มาถึงทุกวันนี้จนมีลูกหลานและตัวเรากลายเป็น "ไทย" และจงรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ราชวงศ์กันทุกพระองค์และให้บำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบกันต่อไป
วันที่25ธันวาคมพ.ศ2566 นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีเป็นประธาน ประกอบพิธีทำบุญอุทิศบวงสรวงสักการะ ณ อนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​เจ้าเมืองประจันตคามคนที่1ที่อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี โดยมี สว. สรเดช จิรฐิติเจริญ นางสาวจุฑามาศ บัวเผื่อน นายอำเภอประจันตคาม และข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น ทหารผ่านศึกประชาชน และเยาวชนเข้าร่วมพิธี นางสาวจุฑามาศ บัวเผื่อน นายอำเภอประจันตคามเป็นประธานรำถวาย แด่พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​โดยมี สว.สุรเดช จิรฐิติเจริญ ดร.บังอร วิลาวัลย์ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดปราจีนบุรี ตัวแทน สภาวัฒนธรรม จากทุกอำเภอ นายนัฐพล เดชสุภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม        นายบุญยิ่ง จันทาโท นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง ผู้สืบเชื้อสายพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)​เจ้าเมืองประจันตคามคนที่2 ข้าราชการผู้นำท้องถิ่น ทหารผ่านศึก ประชาชน เยาวชน ลาวเวียง ลาวหลวงพระบาง ไทยพวน ลาวยวน ไทยโคราช และทาญาติหลาน โหลน หล่อน เจ้าเมืองประจันตคามทั้ง4คน เข้าร่วมงานร่วมกับประชาชนข้าราชการมากกว่า500คน ร่วมสักการะรำถวาย เบื่องหน้าอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)​ความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านชาวเมืองประจันตคาม ที่ต้องจารึกไว้สืบไป เครดิตรวบรวมภาพจากสื่อ ช่างภาพ ผู้ร่วมกิจกรรม เครือข่ายสื่อ ปราจีนบุรีรายงาน























นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง ผู้สืบเชื้อสายพระภักดีเดชะ(ท้าวอินทร์)​เจ้าเมืองประจันตคามคนที่2

   เขียนเรียบเรียงโดย นายกิตติศักดิ์ เข้าครอง เกิดปีพ.ศ.2514 เป็นบุตร คุณพ่อสวัสดิ์ แม่สำเภา เข้าครอง บุตรชายคนที่6 ศึกษาที่โรงเรียน วัดศรีสุทธาวาส (บุตรโคตร) แล้วต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่   กรุงเทพ จบ ม.ปลาย แล้วได้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ยังไม่จบได้หยุดใว้ก่อนเพราะมีครอบครัว  ภรรยาชื่อนางสุภาภรณ์ ปัญญาทวีกิจ ศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ จบปีศึกษา2537 มีบุตร2คน บุตรหญิง1คนบุตรชาย1คน 1.เด็กหญิง ชนิษฐา เข้าครอง                                2.เด็กชาย ไกรวิชญ์ เข้าครอง


 จึงขอให้ความสัมคัญกับครอบครัวก่อนถึงจะศึกษาต่อ ครั้งก่อนปี2530-2540ทำธุรกิจขายเครื่องไฟฟ้าปัจจุบันตั้งแต่ปี2540ทำธุรกิจส่วนตัวขายที่ดินและเปิดร้านขายส่งปลีกสินค้าเสื้อผ้านำเข้าจากต่างประเทศ มือสองสภาพดี จากU.S.A JAPAN ITALY ฯลฯ ที่สนามหลวง2 กรุงเทพฯและกำลังสร้างบ้านหอศิลป์พิพิธภัณฑ์ศูนย์เรียนรู้ พระสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)​พรหมรังสี ประวัติบูรพมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ถึงองค์ปัจจุบัน การเป็นมาของการสร้างเมืองประจันตคาม เจ้าเมืองประจันตคามทั้ง4ท่าน ของเก่าโบราณ กางเกงเก่าโอเวอร์ออส์ลผลิตปี ค.ศ.1873-1890-2003 จากอเมริกาที่มีในเอเชีย และของเก่าพื้นบ้านที่หาดูไม่ค่อยมีแล้วในปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่  70 ม.6 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี อยู่บ้านข้างอนามัย   หนองคิม   โทรติดต่อ 064-9599559 -064-9599595,   Facebook:  กิตติศักดิ์ เข้าครอง KSK VINTAGE JEAN,      LINE :  KSK VINTAGE    
   
          อำเภอประจันตคาม เป็นอำเภอที่อยู่ติดอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อยู่ใกล้ธรรมชาติ มีอากาศดีและเป็นอำเภอที่มีน้ำตกมากที่สุดในประเทศไทย ประกอบไปด้วยน้ำตกถึง18แห่งดังนี้ 1 น้ำตกตะคร้อ 2 น้ำตกสลัดได 3 น้ำตกส้มป่อย 4 น้ำตกธารทิพย์ 5 น้ำตกลานเสากี่ 6 น้ำตกลานหินดาด 7 น้ำตกเหวจั๊กจั่น 8 น้ำตกแก่งกฤษณา 9 น้ำตกไทรคู่ 10 น้ำตกตาดหินยาว 11 น้ำตกฟองสบู่ 12 น้ำตกตาขนดำ 13 น้ำตกห้วยขมิ้น 14 น้ำตกเหวอีอ่ำ 15 น้ำตกหินดาด 16 น้ำตกธารทะลอก 17 น้ำตกบังเอิญ                                                                                       
          หนังสืออ้างอิง:ที่มาจากบรรพบุรุษเขียนบอกเล่าต่อกันมาและคนเฒ่าคนแก่   ข้อมูลทางบรรณานุกรม หอสมุดแห่งชาติ   มาตุทิศ   พจจนานุกรมไทย ฉบับสมบูรณ์2524   สารานุกรมประเทศไทย บรรณานุกรม​ ดำรงราชานุภาพ(2545) WIKIPEDIA.ORG                      สมหมาย ฉัตรทอง สยาม ร.ศ. 112 วิกฤตแผ่นดิน พิพาทฝรั่งเศส และเสียดินแดน   เกริกฤทธี ไทยคูนธนภพ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและสื่อสารสำนักงานจังหวัดสระแก้ว   เรารักปราจีนบุรี  














2 ความคิดเห็น:

  1. ได้สาระดีมากครับ

    ตอบลบ
  2. ชื่นชมในความพยายามของท่านมากครับ
    ข้อมูลแน่นพร้อมภาพประกอบ กระผมนายมานิตย์ เดชสุภา รู้สึกดีใจที่ได้ทราบความเป็นมาเป็นไปของ บรรพบุรุษมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ
    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ